นโยบายการกำกับดูแลกิจการ

คณะกรรมการบริษัทฯ ตระหนักถึงหลักการของการกำกับดูแลกิจการที่ดีซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินกิจการของบริษัทฯ เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน อีกทั้งยังมีความเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่าเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มมูลค่า และผลตอบแทนสูงสุดแก่ผู้ถือหุ้นและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายในระยะยาว คณะกรรมการบริษัท จึงได้กำหนดและให้ความเห็นชอบนโยบายการกำกับดูแลกิจการเพื่อส่งเสริมความโปร่งใสในการบริหารกิจการของบริษัทฯ คุ้มครองสิทธิของผู้ถือหุ้นรายย่อยและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนส่งเสริมให้ผู้ถือหุ้นได้เข้ามามีส่วนร่วม ในการควบคุมดูแลการดำเนินการของบริษัทฯ กำหนดให้มีการบริหารความเสี่ยงเพื่อให้กิจการของบริษัทฯ มีความมั่นคงและกำหนดปรัชญาและจรรยาบรรณในการทำธุรกิจเพื่อให้การดำเนินธุรกิจของบริษัทเป็นไปด้วยความโปร่งใส สุจริต ยุติธรรม และมีความรับผิดชอบต่อสังคม นโยบายการกำกับดูแลกิจการนั้นได้กำหนดให้มีการจัดทำขึ้นตามหลักการกำกับดูแลที่ดี ซึ่งคณะกรรมการบริษัทได้พิจารณาปรับปรุงและอนุมัตินโยบายการกำกับดูแลกิจการเป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นการยกระดับการกำกับดูแลกิจการของบริษัทฯ ให้มีมาตรฐานยิ่งขึ้น และสอดคล้องกับหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์และสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย บริษัทฯ ได้จัดทำคู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดีและจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจเพื่อให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับบริษัทฯ ทั้งคณะกรรมการ คณะผู้บริหารและพนักงานได้ยึดถือเป็นแนวปฏิบัติที่ดีในการปฏิบัติหน้าที่ที่รับผิดชอบ นอกจากนั้น บริษัทฯ ยังได้จัดทำจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจโดยได้รวบรวมไว้ในคู่มือฉบับดังกล่าวอีกด้วย เนื่องด้วยบริษัทฯต้องการที่จะส่งเสริมให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน ปฏิบัติงานและดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ อย่างโปร่งใสตรงไปตรงมาเป็นไปตามกฎหมาย ยึดมั่นในคุณธรรมและจริยธรรมหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่อาจนำไปสู่การขัดแย้งกับธุรกิจของบริษัทฯ รวมทั้งผู้บริหารควรเป็นแบบอย่างที่ดีต่อผู้ใต้บังคับบัญชาของตนอีกด้วย

จากการบริหารงานโดยยึดถือแนวปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีและตระหนักถึงความสำคัญและความรับผิดชอบที่มีต่อผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียของบริษัทอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ในปี 2562 บริษัทได้รับการประเมินจากหน่วยงานที่กำกับดูแลและจากองค์กรต่างๆ ดังนี้

  • ได้รับการประเมินคุณภาพการจัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2562 ในระดับคะแนนเท่ากับร้อยละ 99.00 จากโครงการประเมินคุณภาพการจัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียน (AGM Assessment Program) ของสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย (Thai Investor Association)
  • ได้รับการประเมินผลจากการสำรวจการกำกับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียน ประจำปี 2562 (CGR 2019) จากสถาบันกรรมการบริษัทไทย (Thai Institute of Directors – IOD) ในคะแนนระดับ “ดีเลิศ”
  • รางวัล SET Sustainability Awards ประเภทรางวัล Thailand Sustainability Investment 2019 โดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
  • รางวัล ESG100 Certificate ปี 2019 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 ในฐานะบริษัทจดทะเบียน ที่มีความโดดเด่นในการดำเนินธุรกิจด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมภิบาล (Environmental, Social and Governance: ESG) โดย สถาบันไทยพัฒน์

ในปี 2560 คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ได้ออกหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียน ปี 2560 (Corporate Governance Code : “CG Code ปี 2560”)
เพื่อเป็นหลักปฏิบัติให้คณะกรรมการบริษัทนำไปปรับใช้ในการกำกับดูแลให้กิจการมีผลประกอบการที่ดีในระยะยาว น่าเชื่อถือสำหรับผู้ถือหุ้น และเพื่อประโยชน์ในการสร้างคุณค่าให้กิจการอย่างยั่งยืน ซึ่งหลักปฏิบัติสำหรับคณะกรรมการบริษัท 8 ข้อหลัก คือ

1. ตระหนักถึงบทบาทและความรับผิดชอบของคณะกรรมการในฐานะผู้นำองค์กรที่สร้างคุณค่าให้แก่กิจการอย่างยั่งยืน
2. กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายหลักของกิจการที่เป็นไปเพื่อความยั่งยืน
3. เสริมสร้างคณะกรรมการที่มีประสิทธิผล
4. สรรหาและพัฒนาผู้บริหารระดับสูงและการบริหารบุคลากร
5. ส่งเสริมนวัตกรรมและการประกอบธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ
6. ดูแลให้มีระบบการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในที่เหมาะสม
7. รักษาความน่าเชื่อถือทางการเงินและการเปิดเผยข้อมูล
8. สนับสนุนการมีส่วนร่วมและการสื่อสารกับผู้ถือหุ้น

คณะกรรมการบริษัท มีมติพิจารณาการนำหลักปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี สำหรับบริษัท จดทะเบียนปี 2560 หรือ Corporate Governance Code (CG Code) มาปรับใช้โดยได้พิจารณาและตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ในฐานะผู้นำองค์กร (Governing Board) และกรรมการทั้งหมดได้พิจารณานำหลักปฏิบัติดังกล่าวโดยรายละเอียดครอบคลุมถึงประโยชน์และความสำคัญของการนำหลักปฏิบัติตาม CG Code เพื่อนำไปใช้สร้างคุณค่าให้แก่กิจการอย่างยั่งยืนเป็นอย่างดีแล้ว อย่างไรก็ตามสำหรับหลักปฏิบัติที่ยังไม่เหมาะสมในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ นั้น คณะกรรมการบริษัทได้มีการพิจารณาและออกมาตรการทดแทนที่เหมาะสมรวมถึงได้บันทึกไว้ เป็น ส่วนหนึ่งของ มติคณะกรรมการเพื่อให้มีการพิจารณาทบทวนเป็นประจำทุกปี ซึ่งบริษัทได้เปิดเผยนโยบาย การกำกับดูแลกิจการของบริษัทไว้บนเว็บไซต์เพื่อการสื่อสารภายนอกองค์กร และเผยแพร่เพื่อการสื่อสาร ให้พนักงานในองค์กรรับทราบการกำกับดูแลกิจการของบริษัท และส่งเสริมให้พนักงานมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ ตามนโยบายดังกล่าว

นอกจากนี้บริษัทฯ ยืดถือและให้ความสำคัญกับการดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียนปี 2560 ซึ่งครอบคลุมหลักการของ OECD (Organisation for Economic Co-operation and Development) ทั้ง 5 หมวด มาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนานโยบายที่ครอบคลุมถึงสิทธิและความเท่าเทียมกันของผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โครงสร้าง บทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบและความเป็นอิสระของคณะกรรมการ การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส การควบคุมและการบริหารความเสี่ยง ตลอดจนจริยธรรมทางธุรกิจ เพื่อให้การบริหารงาน และการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและโปร่งใส โดยหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีครอบคลุมหลักการ 5 หมวดมีดังนี้

หมวดที่ 1 สิทธิของผู้ถือหุ้น (The Rights of Shareholders)

บริษัทฯ ได้ให้ความสำคัญกับผู้ถือหุ้นในฐานะนักลงทุนในหลักทรัพย์และเจ้าของบริษัท โดยควบคุมบริษัทผ่านคณะกรรมการบริษัทที่ผู้ถือหุ้นได้แต่งตั้งให้ทำหน้าที่แทนตน และมีสิทธิในการตัดสินใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของบริษัท ดังนั้น บริษัทจึงมีนโยบายในการสนับสนุนส่งเสริม และอำนวยความสะดวกให้ผู้ถือหุ้นได้ใช้สิทธิของตน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ถือหุ้น อันได้แก่

  • สิทธิในการซื้อ ขาย หรือโอนหุ้นของบริษัทตามที่กฎหมายกำหนด
  • สิทธิในการได้รับข้อมูลสารสนเทศที่ถูกต้องครบถ้วน เพียงพอทันเวลา ในรูปแบบที่เหมาะสมต่อการตัดสินใจเพื่อติดตามการดำเนินงาน รวมถึงบริษัทไม่มีนโยบายในการที่จะกีดกันหรือสร้างอุปสรรคในการสื่อสารระหว่างกันของผู้ถือหุ้นทุกๆ ราย
  • สิทธิในการเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้น แสดงความคิดเห็นให้ข้อเสนอแนะการซักถามในการประชุมผู้ถือหุ้น และร่วมพิจารณาตัดสินใจในเรื่องที่สำคัญต่างๆ ของบริษัท
  • สิทธิในการแต่งตั้ง ถอดถอนกรรมการ
  • สิทธิในการแต่งตั้งผู้สอบบัญชี และกำหนดค่าตอบแทนผู้สอบบัญชี
  • สิทธิในการได้รับส่วนแบ่งผลกำไรของบริษัทในรูปแบบของเงินปันผลอย่างเท่าเทียมกัน
  • สิทธิในการได้รับใบหุ้น โอนหุ้น การรับซื้อหุ้นคืน อย่างเท่าเทียมกันในนามบริษัท
  • สิทธิในการกำหนดหรือแก้ไขวัตถุประสงค์ ข้อบังคับ และหนังสือบริคณห์สนธิของบริษัท
  • สิทธิอื่นๆ ตามบทบัญญัติที่กำหนดไว้ในกฎหมายกฎระเบียบอื่นใดที่เกี่ยวข้อง รวมถึงข้อบังคับของบริษัท

และนอกจากการส่งเสริมให้ผู้ถือหุ้นใช้สิทธิขั้นพื้นฐานแล้ว บริษัทฯ ยังได้ดูแลและปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียม เช่น การให้ข้อมูลที่สำคัญที่เป็นปัจจุบันผ่านเว็บไซต์ และการจัดให้ผู้ถือหุ้นเข้าเยี่ยมชมกิจการ และไม่ได้มีการดำเนินการใดๆ อันเป็นการละเมิดหรือลิดรอนสิทธิของผู้ถือหุ้นแต่อย่างใด

การจัดประชุมผู้ถือหุ้น

  • ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2562 ประชุมเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ.2562
  • ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2562 ซึ่งประชุมเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2562 เพื่อขอให้ผู้ถือหุ้นพิจารณาและอนุมัติแผนการนำหุ้นของ ETC เข้าจะทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย / ตลาดหลักทรัพย์ เอ็มเอไอ

ทั้งนี้ที่ผ่านมาบริษัทฯ ได้ดำเนินการเกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อสิทธิของผู้ถือหุ้น ดังนี้

1. การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นก่อนวันประชุมสามัญผู้ถือหุ้น

1.1 บริษัทส่งเสริมและอำนวยความสะดวกให้ผู้ถือหุ้นทุกกลุ่ม รวมถึงผู้ถือหุ้นประเภทสถาบัน ได้ใช้สิทธิในการเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้นและออกเสียงลงคะแนนอย่างเต็มที่

1.2 เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นส่วนน้อยเสนอเรื่องเพื่อบรรจุเป็นวาระการประชุมและเสนอชื่อบุคคลเพื่อเข้ารับการเลือกตั้งเป็นกรรมการบริษัทในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นเป้นการล่วงหน้า โดยบริษัทได้แจ้งให้ผู้ถือหุ้นรับทราบผ่านระบบข่าวของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พร้อมประกาศหลักเกณฑ์ที่กำหนด และระบุขั้นตอนที่ชัดเจนในการเสนอระเบียบวาระการประชุมดังกล่าวไว้ในเว็บไซต์ของบริษัทที่ bwg.idea-boomer.com เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ.2561 โดยสามารถเสนอเรื่องมายังบริษัทได้ตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ถึง 15 มกราคม พ.ศ. 2562

1.3 บริษัทได้จัดส่งหนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้นที่มีข้อมูล วัน เวลา สถานที่ และวาระการประชุมโดยมีวัตถุประสงค์ เหตุผล และความเห็นของคณะกรรมการบริษัทประกอบในแต่ละวาระ ตลอดจนข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ตัดสินใจในที่ประชุม ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ให้กับผู้ถือหุ้นทุกรายได้รับทราบเพื่อพิจารณารายละเอียดเป็นการล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 21 วัน โดยบริษัทได้จัดส่งหนังสือเชิญประชุมให้แก่ผู้ถือหุ้น ทางไปรษณีย์เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ.2562 ซึ่งในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2562 มีวาระเพื่อนำเสนอผู้ถือหุ้นพิจารณาอนุมัติ ได้แก่

  • การอนุมัติงบแสดงฐานะทางการเงินและงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ
  • การอนุมัติการจัดสรรกำไรสิทธิ เพื่อจ่ายเงินปันผลและสำรองตามกฏหมาย
  • การอนุมัติการจ่ายเงินโบนัสสำหรับคณะกรรมการ
  • การอนุมัติค่าตอบแทนกรรมการ
  • การอนุมัติการแต่งตั้งคณะกรรมการ
  • การอนุมัติแต่งตั้งผู้สอบบัญชี และการกำหนดค่าตอบแทน
  • อนุมัติการลดทุน และเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทฯ
  • อนุมัติการออกและเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัทแบบมอบอำนาจทั่วไป (General Mandate)
  • อนุมัติแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิของบริษัทฯ

1.4 บริษัทได้เผยแพร่หนังสือเชิญประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี2561 ไว้ในเว็บไซต์ของบริษัทที่ bwg.idea-boomer.com ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2562 เพื่อให้ผู้ถือหุ้นสามารถเข้ามาศึกษาข้อมูลลล่วงหน้าอย่างเพียงพอก่อนวันประชุมผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 30 วันก่อนวันประชุม

1.5 บริษัทได้เปิดโอกาสและกำหนดหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนให้ผู้ถือหุ้นสามารถส่งคำถามล่วงหน้าก่อนการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2561 โดยสามารถส่งคำถามล่วงหน้าได้ที่ ฝ่ายเลขานุการบริษัท บริษัท เบตเตอร์ เวิลด์ กรีน จำกัด (มหาชน) เลขที่ 488 ซอยลาดพร้าว 130 (มหาดไทย 2) แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240 หรือ อีเมล : siriphorn.s@bwg.co.th

1.6 บริษัทได้แนบหนังสือมอบฉันทะแบบ ก. แบบ ข. และ แบบ ค. ไปพร้อมกับหนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อให้ผู้ถือหุ้นที่ ไม่สะดวกเข้าร่วมประชุมด้วยตนเอง สามารถมอบอำนาจบุคคลอื่นใด หรือกรรมการอิสระที่บริษัทได้แต่งตั้งขึ้นเป็นผู้รับมอบอำนาจแทน เพื่อเข้าร่วมประชุมและออกเสียงลงคะแนนแทนตนได้ โดยให้ดำเนินการตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในหนังสือมอบฉันทะ

1.7 บริษัทอำนวยความสะดวกให้กับผู้ถือหุ้นได้ใช้สิทธิในการเข้าร่วมประชุมและออกเสียงอย่างเต็มที่ โดยบริษัทได้ใช้ ห้องพาวิลเลี่ยน ชั้น 8 โรงแรมเดอะ แกรนด์ โฟร์วิงส์ คอนเวนชั่น เลขที่ 333 ถนนศรีนครินทร์ แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240 เป็นสถานที่จัดประชุม ซึ่งเป็น สถานที่กว้างขวางเพียงพอสำหรับรองรับผู้ถือหุ้น และสะดวกต่อการเดินทาง รวมทั้งได้จัดเตรียมของว่างและเครื่องดื่มไว้รองรับผู้เข้าร่วมประชุมฯ อย่างเพียงพอ

2. การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นในวันประชุมสามัญผู้ถือหุ้น

2.1 บริษัทจัดให้มีบุคลากรและเทคโนโลยีอย่างเพียงพอสำหรับการประชุมผู้ถือหุ้นทั้งการตรวจสอบเอกสาร การลงทะเบียนเข้าร่วมประชุม การนับคะแนน และแสดงผลการลงคะแนนในแต่ละวาระเพื่อให้การดำเนินการประชุมสามารถกระทำได้รวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ โดยบริษัทให้ผู้ถือหุ้นสามารถลงทะเบียนก่อนเวลาประชุมอย่างน้อย 1 ชั่วโมง และยังเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นที่ประสงค์จะเข้าร่วมประชุมฯ แม้จะพ้นเวลาลงทะเบียนแล้ว สามารถออกเสียงลงคะแนนได้ในระเบียบวาระที่อยู่ระหว่างการพิจารณาและยังไม่ได้มีการลงมติ และนับเป็นองค์ประชุมตั้งแต่วาระที่ได้เข้าร่วมประชุมฯ เป็นต้นไป ในปี 2562 บริษัทฯ ใช้โปรแกรมการจัดประชุมของบริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด (TSD) ในการลงทะเบียนและการนับคะแนน

2.2 บริษัทให้สิทธิผู้ถือหุ้นในการออกเสียงลงคะแนนแบบหนึ่งหุ้นต่อหนึ่งเสียง และเพื่อความสะดวกในการลงคะแนนและนับคะแนนเสียง บริษัทฯ ได้จัดทำใบลงคะแนนเสียงแยกแต่ละระเบียบวาระ สำหรับการลงคะแนนเสียง โดยเฉพาะระเบียบวาระการแต่งตั้งกรรมการ บริษัทฯ ให้สิทธิผู้ถือหุ้นในการลงคะแนนเสียงแต่งตั้งกรรมการเป็นรายบุคคล รวมทั้งได้เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นอาสาทำหน้าที่เป็นสักขีพยานในการนับคะแนนเสียง และจัดให้มีที่ปรึกษากฎหมาย ทำหน้าที่ตรวจสอบการนับคะแนนเสียง เพื่อความโปร่งใสในการลงคะแนนและนับคะแนนเสียง และเปิดเผยให้ที่ประชุมทราบ พร้อมบันทึกไว้ในรายงาน การประชุม

2.3 เมื่อถึงเวลาเริ่มประชุมฯ ประธานกรรมการ ประธานคณะกรรมการชุดย่อยทุกชุด กรรมการทุกท่าน รวมทั้งผู้บริหารระดับสูง ตลอดจนผู้สอบบัญชี และที่ปรึกษากฎหมาย เข้าร่วมประชุมฯ อย่างพร้อมเพรียงกัน โดยก่อนเริ่มประชุม ประธานกรรมการ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุมฯ ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ ชี้แจงหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการประชุมฯ ทั้งหมด อาทิ การออกเสียงลงคะแนน เป็นต้น

2.4 การประชุมฯ ได้ดำเนินการประชุมตามลำดับระเบียบวาระตามที่ได้แจ้งไว้ในหนังสือเชิญประชุมที่ส่งให้ผู้ถือหุ้นล่วงหน้า โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงลำดับระเบียบวาระดังกล่าว และไม่มีการขอให้ที่ประชุมฯ พิจารณาเรื่องอื่นที่นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในหนังสือเชิญประชุม เนื่องจากบริษัทฯ ไม่มีนโยบายเพิ่มระเบียบวาระในที่ประชุมฯ โดยไม่แจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้า

สำหรับกรรมการที่มีส่วนได้เสียในระเบียบวาระการประชุมฯ นั้น บริษัทฯ จะระบุการมีส่วนได้เสียของกรรมการไว้ในหนังสือเชิญประชุมฯ และในการประชุม หากกรรมการท่านใดมีส่วนได้เสีย หรือมีส่วนเกี่ยวข้องในการพิจารณาระเบียบวาระใดประชุมธานในที่ประชุมฯ จะแจ้งให้ที่ประชุมทราบก่อนการพิจารณาระเบียบวาระดังกล่าว โดยกรรมการที่มีส่วนได้เสียนั้นจะไม่เข้าร่วมประชุมฯ ในระเบียบวาระนั้นๆ

2.5 ประธานในที่ประชุมฯ ได้เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นมีสิทธิอย่างเท่าเทียมกันในการแสดงความคิดเห็น และตั้งคำถามในที่ประชุมฯ ก่อนจะลงคะแนนเสียงและสรุปมติที่ประชุมของแต่ละระเบียบวาระ โดยได้บันทึกประเด็นซักถามและข้อคิดเห็นที่สำคัญไว้ในรายงานการประชุมฯ เพื่อให้ผู้ถือหุ้นสามารถตรวจสอบภายหลังได้

3. การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นหลังการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น

3.1 บริษัทฯ ได้เปิดเผยมติทีประชุมผู้ถือหุ้น พร้อมผลการลงคะแนนเสียงไม่ช่วงเย็นของวันประชุมฯ โดยแจ้งผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของ ตลท. และเปิดเผยไว้ในเว็บไซต์ของบริษัทฯ

3.2 บริษัทฯ มีการบันทึกรายงานการประชุมทั้งฉบับภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ถูกต้อง ครบถ้วน เพื่อให้ผู้ถือหุ้นสามารถตรวจสอบได้ โดยได้บันทึกรายชื่อและตำแหน่งของกรรมการที่เข้าร่วมประชุม วิธีการลงคะแนน ความเห็นของผู้ถือหุ้น คำชี้แจงของกรรมการ รวมทั้งมติที่ประชุมไว้อย่างชัดเจนซึ่งแยกเป็นคะแนนที่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย หรืองดออกเสียง และนำส่ง ตลท. ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (www.setportal.set.or.th) ภายใน 14 วันนับจากวันประชุมผู้ถือหุ้น และได้เผยแพร่รายงานดังกล่าวไว้บนเว็บไซต์ของบริษัทฯ

3.3 จัดให้มีการบันทึกภาพบรรยากาศการประชุม เพื่อให้ผู้ถือหุ้นที่ไม่ได้เข้าร่วมประชุมได้รับทราบ บนเว็บไซต์ของบริษัทฯ

3.4 หลังจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นได้มีมติจ่ายเงินปันผล บริษัทฯ ได้แจ้งมติที่ประชุม รวมถึงรายละเอียดการจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้นทราบผ่านระบบการเผยแพร่ข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และประสานงานกับบริษัทฯ ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ถือหุ้นได้รับสิทธิเงินปันผลอย่างถูกต้องครบถ้วน ทั้งนี้ บริษัทได้กำหนดวันปิดสมุดทะเบียนเพื่อสิทธิในการรับเงินปันผลภายหลังจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติไม่น้อยกว่า 5 วันทำการ ซึ่งเป็นไปตามหลักการที่ตลาดหลักทรัพย์เสนอแนะ

3.5 นำข้อเสนอแนะและความคิดเห็นที่ได้รับจากผู้ถือหุ้นและผู้ตรวจสอบในการประเมินผลการจัดประชุม มาพิจารณาและหาแนวทางแก้ไข/ปรับปรุงเพื่อพัฒนาการจัดประชุมผู้ถือหุ้นอย่างต่อเนื่อง

จากการพัฒนาปรับปรุงการจัดประชุมผู้ถือหุ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ในปี 2561 บริษัทฯ ได้รับการประเมินคุณภาพการจัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น อยู่ในเกณฑ์ “ดีเยี่ยม” ในโครงการประเมินคุณภาพการจัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น (Annual General Meeting-AGM) ประจำปี 2561 ซึ่งจัดโดยสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย

หมวดที่ 2 การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน (The Equitable Treatment of Shareholders)

บริษัทเคารพในสิทธิต่างๆ ที่ผู้ถือหุ้นและนักลงทุนสถาบันมีอยู่ตามกฎหมาย และ/หรือ ตามข้อบังคับของบริษัท โดยบริษัทจะปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นทุกรายอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ว่าผู้ถือหุ้นนั้นจะเป็นผู้ถือหุ้นรายย่อยหรือชาวต่างชาติ หรือนักลงทุนสถาบัน หรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ แลไม่คำนึงถึงเพศ อายุ ความพิการ เชื้อชาติ สัญชาติศาสนา ความเชื่อ หรือความคิดเห็นทางการเมือง ซึ่งผู้ถือหุ้นนของบริษัททุกรายมีสิทธิได้รับการปฏิบัติและปกป้องสิทธิขั้นพื้นฐานอย่างเทียมกัน ดังนี้

1. การปฏิบัติที่เท่าเทียมกัน

1.1. ในการประชุมผู้ถือหุ้น บริษัทฯ มีนโยบายที่จะรักษาสิทธิของผู้ถือหุ้นทุกราย กล่าวคือ ไม่เพิ่มระเบียบวาระในที่ประชุมโดยไม่ได้แจ้งให้ผู้ถือหุ้นอื่นทราบล่วงหน้า เพื่อให้ผู้ถือหุ้นได้มีโอกาสศึกษาข้อมูลของระเบียบวาระการประชุมก่อนลงมติ ทั้งนี้ ผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ทุกรายมีสิทธิออกเสียงตามจำนวนหุ้นที่ถืออยู่ โดยหุ้นแต่ละหุ้นมีสิทธิออกเสียงหนึ่งเสียง และไม่มีหุ้นใดมีสิทธิพิเศษที่เป็นการจำกัดสิทธิของผู้ถือหุ้นรายอื่น

1.2. คณะกรรมการเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นรายย่อยเสนอระเบียบวาระการประชุมในการประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี รวมทั้งเสนอชื่อผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมเข้าเป็นกรรมการ โดยประกาศให้ทราบผ่านช่องทางของ ตลท. และบนเว็บไซต์ของบริษัทฯ โดยมีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน ซึ่งบริษัทฯ ได้เปิดโอกาสให้แก่ผู้ถือหุ้นเสนอวาระและชื่อกรรมการล่วงหน้า ตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน 2561 ถึงวันที่ 15 มกราคม 2562 ทั้งนี้ผู้ถือหุ้นรายเดียวหรือหลายรายรวมกันซึ่งถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 1 ของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทฯ สามารถเสนอวาระและ ชื่อกรรมการได้ ทั้งนี้ ในรอบปี 2562 ไม่มี ผู้ถือหุ้นรายย่อยเสนอชื่อบุคคลเพื่อเข้ารับเลือกตั้งเป็นกรรมการบริษัทฯ

1.3. เพื่อความโปร่งใสและตรวจสอบได้บริษัทฯ ได้จัดให้มีการใช้บัตรลงคะแนนเสียงในทุกระเบียบวาระ รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นแต่งตั้งกรรมการเป็นรายบุคคล

1.4. บริษัทฯ ให้สิทธิแก่ผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกันในการออกเสียงลงคะแนนในแบบหนึ่งหุ้นต่อหนึ่งเสียงประเภท หุ้นสามัญ ซึ่งเป็นหุ้นประเภทเดียวที่บริษัทฯออกให้ผู้ถือหุ้น โดยกำหนดให้นับหุ้นหนึ่งหุ้นเป็นหนึ่งเสียง และให้ถือเอา เสียงข้างมากเป็นมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้น

1.5. เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นที่ไม่สะดวกเข้าร่วมประชุมได้ด้วยตนเอง โดยผู้ถือหุ้นสามารถมอบฉันทะให้ผู้อื่น หรือกรรมการอิสระรายใดรายหนึ่งตามที่บริษัทฯ ได้เสนอชื่อไว้โดยบริษัทฯ จะให้สิทธิและปฏิบัติต่อผู้รับมอบฉันทะเสมือนเป็นผู้ถือหุ้นท่านหนึ่ง ทั้งนี้บริษัทฯ ได้อำนวยความสะดวกให้กับผู้ถือหุ้นที่ ไม่สามารถเข้าร่วมประชุมด้วยตนเองได้โดยจัดส่งแบบหนังสือมอบฉันทะ ตามที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ได้กำหนดไว้ซึ่งเป็นแบบที่กำหนดรายการต่างๆ ที่ละเอียดและชัดเจนแนบไปพร้อมกับหนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้น ทั้งฉบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ล่วงหน้าก่อนวันประชุม ไม่น้อยกว่า 21 วัน และเพื่อความถูกต้องและไม่เกิดปัญหา ในการเข้าร่วมประชุมของผู้รับมอบฉันทะ บริษัทฯ ได้แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับการประชุม กำหนดการประชุม วาระ การประชุม รวมถึงขั้นตอน เอกสารและหลักฐาน ที่ต้องใช้ในการมอบฉันทะแสดงไว้ในหนังสือเชิญประชุม และเว็บไซต์ ของบริษัทฯ (http://bwg.idea-boomer.com) ในส่วนของนักลงทุนสัมพันธ์ ภายใต้หัวข้อ “การประชุมผู้ถือหุ้น” ก่อนวันประชุม มากกว่า 30 วัน โดยผู้ถือหุ้นสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ทั้งทางโทรศัพท์อีเมล์มายังหน่วยงานนักลงทุนสัมพันธ์ (รายละเอียดโปรดดูหัวข้อ “นักลงทุนสัมพันธ์”)

1.6. เนื่องจากผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ที่มาเข้าร่วมการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นเป็นคนไทย ดังนั้น ในการประชุมผู้ถือหุ้นจึงดำเนินการเป็นภาษาไทย แต่เพื่อประโยชน์ในการสื่อสารและอำนวยความสะดวกให้ผู้ถือหุ้นชาวต่างชาติ บริษัทฯ จึงได้จัดทำเอกสารต่างๆ เป็น 2 ภาษา คือ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เช่น หนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้น หนังสือมอบฉันทะ รายงานการประชุมผู้ถือหุ้น รายงานประจำปี เป็นต้น และจัดทำเว็บไซต์ของบริษัทฯ (http://bwg.idea-boomer.com) เป็น 2 ภาษา เพื่อให้บริการเผยแพร่แก่ผู้ถือหุ้นที่สนใจ

1.7. บริษัทฯ จัดส่งหนังสือเชิญประชุม พร้อมเอกสารประกอบการพิจารณาในวาระต่างๆ แก่ผู้ถือหุ้นล่วงหน้าก่อน วันประชุม ไม่น้อยกว่า 21 วัน และนำรายละเอียดเกี่ยวกับการประชุม กำหนดการประชุม วาระการประชุม เผยแพร่บนเว็บไซต์ของบริษัทฯ (http://bwg.idea-boomer.com) ล่วงหน้ามากกว่า 30 วันก่อนวันประชุม

1.8. บริษัทฯ มิได้กำหนดเงื่อนไขหรือกฎเกณฑ์ที่ต้องให้มีการรับรองเอกสารโดยหน่วยงานราชการ หรือ กฎเกณฑ์อื่นที่ก่อให้เกิดความยุ่งยากแก่ผู้ถือหุ้นในการมอบฉันทะ ตลอดจนบริษัทฯ ได้อำนวยความสะดวกจัดบริการปิดอากรแสตมป์ในหนังสือมอบฉันทะให้แก่ผู้รับมอบฉันทะที่เข้าร่วมประชุม และจัดเจ้าหน้าที่ให้บริการถ่ายเอกสารที่ต้องใช้แนบ และตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร โดยไม่คิดค่าบริการ ณ จุดลงทะเบียน เพื่อลดภาระการจัดหาอากรแสตมป์และการถ่ายสำเนาเอกสารของผู้ถือหุ้น มีการเปิดรับลงทะเบียนก่อนเวลา ประชุม 1 ชั่วโมง บริษัทฯ ใช้โปรแกรมการจัดประชุมของบริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด (TSD) ในการลงทะเบียนและการนับคะแนน รวมทั้งการจัดให้มีการเลี้ยงรับรองสำหรับผู้ถือหุ้นที่มาร่วมประชุม

2. มาตรการป้องกันการใช้ข้อมูลภายในของบริษัทฯ และความขัดแย้งทางผลประโยชน์

บริษัทฯ ได้กำหนดแนวทางในการเก็บรักษาและป้องกันการใช้ข้อมูลภายในในจรรยาบรรณของกรรมการและจรรยาบรรณของพนักงานเพื่อป้องกันการใช้ข้อมูลภายในเพื่อหาผลประโยชน์ให้แก่ตนเองและผู้อื่นในทางมิชอบ ซึ่งเป็นการเอาเปรียบผู้ถือหุ้นรายอื่น หรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ถือหุ้นโดยรวม โดยมีหลักการสำคัญ ดังนี้

2.1 บริษัทฯ มีการเก็บรักษาข้อมูลภายใน รวมทั้งมีมาตรการป้องกันกรณีที่กรรมการและผู้บริหารใช้ข้อมูลภายในเพื่อหาผลประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่นในทางมิชอบซึ่งเป็นการเอาเปรียบผู้ถือหุ้นอื่น เช่น การซื้อขายหลักทรัพย์โดยใช้ข้อมูลภายใน การนำข้อมูลภายในไปเปิดเผยกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง กับกรรมการและผู้บริหารซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ถือหุ้นโดยรวม เป็นต้น โดยได้มีการกำหนดเรื่องการรักษาผลประโยชน์และความลับของบริษัทฯ ไว้ในคู่มือนโยบายและระเบียบข้อบังคับของบริษัท และกำหนดเรื่องการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัท การใช้ข้อมูลภายใน และความขัดแย้งทางผลประโยชน์ไว้ ในจรรยาบรรณธุรกิจ โดยได้มีการแจ้งให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานได้รับทราบถึงข้อกำหนดดังกล่าว ทั้งนี้ บริษัทฯ กำหนดมิให้กรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน และบุคคลที่เกี่ยวข้องทำการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทฯ ก่อนที่งบการเงินหรือข้อมูลภายในนั้นจะเปิดเผยต่อสาธารณะชน และควรรอคอยอย่างน้อย 24 ชั่วโมง ภายหลังการเปิดเผยข้อมูลให้แก่สาธารณะชนแล้วรวมทั้งห้ามไม่ให้เปิดเผยข้อมูลที่เป็นสาระสำคัญนั้นต่อบุคคลอื่น ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้กำหนดบทลงโทษทางวินัยหากมีการฝ่าฝืนนำข้อมูลภายในไปใช้หาประโยชน์ส่วนตน ซึ่งเริ่มตั้งแต่การตักเตือนเป็นหนังสือ ตัดค่าจ้าง พักงานชั่วคราวโดยไม่ได้รับค่าจ้าง หรือให้ออกจากงานซึ่งการลงโทษจะพิจารณาจากเจตนาของการกระทำและความร้ายแรงของความผิดนั้นๆ

2.2. บริษัทฯ ได้ให้ข้อมูลแก่กรรมการ และผู้บริหารเกี่ยวกับหน้าที่ที่ผู้บริหารต้องรายงานการถือหลักทรัพย์ในบริษัทฯ และบทกำหนดโทษตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535และตามข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในกรณีที่กรรมการ หรือผู้บริหารมีการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทฯ จะต้องรายงานการถือหลักทรัพย์ในบริษัทฯ ของตนเอง คู่สมรส และบุตร ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะตามมาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ภายใน 3 วัน ทำการให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ทราบ เพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณะต่อไป

2.3. คณะกรรมการบริษัทฯ ได้กำหนดแนวทางเพื่อไม่ให้กรรมการ หรือผู้บริหารที่มีส่วนได้เสีย หรือมีส่วนเกี่ยวข้องเข้าร่วมกระบวนการตัดสินใจในการพิจารณาธุรกรรมระหว่างบริษัทฯ กับผู้มีส่วน ได้เสีย หรือมีส่วนเกี่ยวข้องดังกล่าว โดยก่อนเริ่มประชุมคณะกรรมการบริษัททุกครั้งประธานกรรมการจะแจ้งให้กรรมการที่มีส่วนได้เสียในเรื่องนั้นๆ แจ้งต่อที่ประชุม และกรรมการท่านนั้นจะไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนในวาระดังกล่าว

2.4. บริษัทฯ มีโครงสร้างการถือหุ้นแบบไม่ซับซ้อน และรายการระหว่างกันที่เกิดขึ้นเกือบทั้งหมดเป็นการทำรายการตามปกติ

2.5. กำหนดแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการไม่ใช้ข้อมูลภายในเพื่อผลประโยชน์ในทางมิชอบไว้ในคู่มือจริยธรรมธุรกิจ และข้อพึงปฏิบัติในการทำงาน

2.6. บริษัทฯ มีมาตรการและขั้นตอนในการอนุมัติการทำรายการระหว่างกันตามที่กฎหมายกำหนดและเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ตามข้อกำหนดของคณะกรรมการกำกับตลาดทุน และตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย โดยมีการประกาศใช้ “ระเบียบในการเข้าทำรายการระหว่างกัน” ซึ่งเป็นระเบียบที่ได้รับการอนุมัติโดยคณะกรรมการบริษัท สำหรับรายการที่เกี่ยวโยงกันที่ต้องขออนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นก่อนการเข้าทำรายการ บริษัทฯ จะเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับรายการดังกล่าวไว้ในหนังสือเชิญประชุม อาทิ ชื่อและความสัมพันธ์ของบุคคลที่เกี่ยวโยงกัน ลักษณะของรายการ นโยบายการกำหนดราคาและมูลค่าของรายการ เหตุผลของการเข้าทำรายการ รวมทั้งความเห็นของคณะกรรมการและที่ปรึกษาทางการเงินอิสระเกี่ยวกับรายการดังกล่าว เป็นต้น และนำส่งหนังสือเชิญประชุมภายในระยะเวลาที่กำหนด ตลอดจนการดำเนินการอื่นๆ ในส่วนที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องและครบถ้วนตามข้อกำหนดของคณะกรรมการกำกับตลาดทุนและตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในปี 2562 บริษัทฯ ไม่มีการทำรายการที่เกี่ยวโยงกันประเภทที่ต้องขออนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นก่อนการเข้าทำรายการ และบริษัทฯ ได้เปิดเผยรายละเอียดของรายการระหว่างกันทุกประเภทที่เกิดขึ้นในระหว่างปี 2562 ไว้ในรายงานประจำปี และ แบบ 56-1 ภายใต้หัวข้อ “รายการระหว่างกัน”

2.7. บริษัทไม่มีโครงสร้างกลุ่มธุรกิจที่มีการทำรายการระหว่างกันในลักษณะที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์

2.8. บริษัทฯ ปฏิบัติตามกฎหมาย และข้อกำหนดของคณะกรรมการกำกับตลาดทุนและตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่เกี่ยวกับการเข้าทำรายการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์อย่างเคร่งครัดในกรณีที่เป็นการเข้าทำรายการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ที่สำคัญที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น บริษัทฯ จะเปิดเผยรายละเอียดของรายการไว้ในรายงานประจำปี และ แบบ 56-1 ประจำปีนั้นๆ ด้วย ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน บริษัทฯ ไม่เคยมีการเข้าทำรายการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ที่เป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง

3. การเปิดเผยข้อมูลส่วนได้เสีย

บริษัทฯ ได้กำหนดแนวปฏิบัติเรื่องการเปิดเผยข้อมูลส่วนได้เสียของกรรมการและผู้บริหารเพื่อความโปร่งใสและป้องกันปัญหาการขัดแย้งของผลประโยชน์ ดังนี้

3.1. กรรมการจะต้องแจ้งให้บริษัทฯ ทราบโดยไม่ชักช้า เมื่อกรรมการและบุคคลในครอบครัวมีส่วนร่วมหรือเป็นผู้ถือหุ้นในกิจการใดๆ ซึ่งอาจมีผลประโยชน์หรือเกิดความขัดแย้งกับบริษัทฯ มีส่วนได้เสียโดยตรงหรือโดยอ้อมในสัญญาใดๆที่บริษัททำขึ้นหรือเข้าถือหลักทรัพย์ในบริษัท หรือบริษัทในเครือ ทั้งนี้ กรรมการและผู้บริหารที่มีส่วนได้เสียจะต้องงดเว้นจากการร่วมอภิปรายให้ความเห็น หรือลงคะแนนเสียงอนุมัติในรายการดังกล่าว

3.2. กรรมการและผู้บริหารจะต้องรายงานการถือครองหลักทรัพย์ของบริษัทฯ ในการประชุมคณะกรรมการบริษัททุกครั้งซึ่งในระเบียบวาระดังกล่าว มีการแจ้งให้กรรมการทราบว่า กรรมการ ผู้บริหาร รวมทั้งคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะตลอดจนผู้เกี่ยวข้องตามมาตรา 258 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มีหน้าที่จัดทำและเผยแพร่รายงานการถือหลักทรัพย์ตลอดจนรายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์ทุกครั้งที่มีการซื้อ ขาย โอนหรือรับโอนหลักทรัพย์ภายใน 3 วัน ภายใน 3 วันทำการ (โดยรายงานผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ทาง www.sec.or.th) นับแต่วันที่มีการซื้อ ขาย โอนหรือรับโอนหลักทรัพย์นั้น ตามประกาศ ก.ล.ต.

ในปี 2562 บริษัทฯ ไม่ได้รับข้อร้องเรียนใดๆ เกี่ยวกับการไม่เคารพในสิทธิพื้นฐานของผู้ถือหุ้น โดยบริษัทได้มีการปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกันและไม่พบการใช้ข้อมูลภายในของบริษัทเพื่อแสวงหาผลประโยชน์แต่อย่างใด

หมวดที่ 3 บทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย (The Role of Stakeholders)

บริษัทและคณะกรรมการบริษัทได้ตระหนักถึงสิทธิของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม โดยบริษัทได้ปฏิบัติ ตามแนวนโยบายการกำกับดูแลกิจการและจรรยาบรรณ รวมถึงนโยบายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้กิจการของบริษัทดำเนินไปด้วยดีมีความมั่นคง สร้างความเชื่อมั่นและส่งเสริมให้มีการร่วมมือกันระหว่างผู้มีส่วนได้เสียในกลุ่มต่างๆ ทั้งผู้ถือหุ้น พนักงาน ลูกค้า คู่ค้า เจ้าหนี้ คู่แข่ง ตลอดจนชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมโดยรวมอย่างเหมาะสมตามบทบาทหน้าที่และตอบสนองผลประโยชน์ที่เป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายอีกทั้งยังได้คำนึงถึงสิทธิมนุษยชนและการต่อต้านการทุจริต ซึ่งบริษัทได้ให้ความสำคัญและตระหนักดีว่าความรับผิดชอบดังกล่าวถือเป็นหัวใจของการพัฒนาที่ยั่งยืน ดังนี้

1. ผู้ถือหุ้น : บริษัทฯ ปฏิบัติหน้าที่ต่อผู้ถือหุ้นด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เป็นธรรม บริหารกิจการ ให้มีความเจริญก้าวหน้า มั่นคง และก่อให้เกิดผลตอบแทนที่เหมาะสมแก่ผู้ถือหุ้น มีการเปิดเผยข้อมูลต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน สม่ำเสมอ และครบถ้วน นอกจากนี้ ได้เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นได้แสดงความคิดเห็น และข้อเสนอแนะ รวมทั้งเสนอวาระหรือบุคคลเพื่อเข้าดำรงตำแหน่งกรรมการในการประชุมผู้ถือหุ้น

2. ลูกค้า : บริษัทฯ มีนโยบายคุณภาพและระบบจัดการคุณภาพ ISO 9001:2008 ที่มุ่งดำเนินธุรกิจเพื่อสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้แก่ลูกค้า โดยคำนึงถึงคุณภาพการบริการที่เชื่อถือได้ในระดับราคาที่เหมาะสม และปลอดภัย รวมถึงการไม่เปิดเผยข้อมูลของลูกค้าโดยไม่ได้รับอนุญาตซึ่งเป็นไปตามนโยบายความรับผิดชอบต่อสังคมในการปฏิบัติต่อลูกค้า และคู่มือจรรยาบรรณในส่วนของความรับผิดชอบต่อลูกค้า

3. คู่ค้าและเจ้าหนี้ : บริษัทมีนโยบายที่เป็นธรรมและรับผิดชอบต่อคู่ค้าและ/หรือเจ้าหนี้เพื่อให้การปฏิบัติต่อคู่ค้าและ/หรือเจ้าหนี้ทุกรายอย่างเสมอภาคและเป็นธรรมยึดมั่นในการดำเนินธุรกิจเพื่อสร้างความเชื่อถือให้กับคู่ค้าและ/หรือเจ้าหนี้ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ร่วมกันหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ ทำให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์หรือนำมาซึ่งความเสื่อมเสียต่อชื่อเสียงของบริษัทหรือขัดต่อกฎหมายใดๆ ดังนี้

  • บริษัทจะปฏิบัติตามสัญญา ข้อตกลงหรือเงื่อนไขต่างๆ ที่มีต่อคู่ค้าและ/หรือเจ้าหนี้ อย่างเต็มที่ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขได้ บริษัทจะแจ้งให้คู่ค้าและ/หรือเจ้าหนี้ ทราบในเวลาที่เหมาะสมเพื่อร่วมกันพิจารณาหาแนวทางแก้ไขโดยใช้หลักความสมเหตุสมผล
  • บริษัทต้องให้ข้อมูลอย่างเพียงพอ ไม่รายงานหรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ บิดเบือน หรือไม่ครบถ้วนแก่คู่ค้าและ/หรือเจ้าหนี้ ซึ่งอาจมีผลทำให้เกิดความเข้าใจผิดและอาจมีผลกระทบต่อการตัดสินใจ
  • บริษัทต้องบริหารเงินทุนเพื่อให้คู่ค้าและ/หรือเจ้าหนี้มีความเชื่อมั่นในสถานะทางการเงินและความสามารถในการชำระหนี้ของบริษัท
  • บริษัทต้องไม่เรียก รับ หรือจ่ายผลประโยชน์ใดๆ ทางการค้ากับคู่ค้าและ/หรือเจ้าหนี้ โดยไม่สุจริตหากมีเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น บริษัทต้องทำการแจ้งรายละเอียดต่อคู่ค้าและ/หรือเจ้าหนี้ เพื่อร่วมมือแก้ไขปัญหาโดยรวดเร็ว และหามาตรการป้องกันเพื่อมิให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวอีก
  • การดำเนินธุรกิจกับคู่ค้าและ/หรือเจ้าหนี้ ใดๆ ต้องไม่นำมาซึ่งความเสื่อมเสียต่อชื่อเสียงของบริษัทหรือขัดต่อกฎหมายใดๆ รวมทั้งคำนึงถึงความเสมอภาค ความเป็นธรรมในการดำเนินธุรกิจและผลประโยชน์ร่วมกัน

4. ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม : บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจโดยมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อชุมชน สังคม โดยให้ความสำคัญกับการปฏิบัติตามมาตรฐานต่างๆ ที่เกี่ยวกับความปลอดภัย ความมั่นคง สุขอนามัย และสิ่งแวดล้อมอย่างถูกต้องเหมาะสม และคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

5. พนักงาน : คณะกรรมการเล็งเห็นว่าพนักงานเป็นทรัพยากรที่สำคัญของบริษัท จึงมีนโยบายส่งเสริมความก้าวหน้าของพนักงาน และมีกระบวนการในการพัฒนาบุคลากรในด้านต่างๆ โดยส่งเสริมให้มี การฝึกอบรมความรู้ทั้งเฉพาะทางและทั่วไปเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการทำงานส่งเสริมให้พนักงานรักการเรียนรู้ อย่างเป็นระบบ รวมถึงให้ความสำคัญกับการปฏิบัติต่อพนักงานอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม

  • ด้านการบริหารค่าตอบแทน : บริษัทมีนโยบายในการกำหนดค่าตอบแทนและสวัสดิการอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับผลการดำเนินงานของบริษัททั้งในระยะสั้นและระยะยาวโดยบริษัทใช้การประเมินค่างานอย่างเป็นระบบเพื่อจัดกลุ่มงาน และระดับตำแหน่งงานตามขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบและความสำคัญที่มีต่อองค์กร ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการจ่ายค่าตอบแทนทำการสำรวจรายได้และประโยชน์ตอบแทนการทำงานของพนักงานทุกระดับเปรียบเทียบกับตลาดงานและสภาวะการครองชีพที่เปลี่ยนแปลงไปอยู่เสมอ เพื่อให้มั่นใจว่าพนักงานมีรายได้และได้รับประโยชน์ตอบแทนการทำงานที่เหมาะสม สามารถแข่งขันกับตลาดงานภายนอกได้
  • ด้านการจัดสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ : บริษัทจัดให้มีสวัสดิการต่างๆ อาทิเช่น การตรวจสุขภาพการประกันชีวิต –อุบัติเหตุการให้ความช่วยเหลือพนักงานที่ ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากการปฏิบัติงานให้กับบริษัท กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินช่วยเหลือกรณีสมรส เงินช่วยเหลืองานศพ เงินช่วยเหลือกรณีพนักงานประสบภัยพิบัติ เงินค่าซื้อของเยี่ยมผู้ป่วย เป็นต้น
  • ด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของพนักงาน : บริษัทปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับแรงงานและสวัสดิการ อาชีวอนามัย สภาพแวดล้อมและความปลอดภัยในการทำงานอย่างเคร่งครัด มุ่งส่งเสริมให้พนักงานมีคุณภาพชีวิตที่ดีด้วยการจัดสวัสดิการสำหรับพนักงานทุกระดับอย่างเหมาะสมสอดคล้องกับลักษณะงานและสถานภาพทางสังคม รวมทั้งจัดให้มีอุปกรณ์การทำงาน สิ่งอำนวยความสะดวก และสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัยถูกต้องตามหลักอาชีวอนามัย ดูแลเรื่องสุขภาพและให้ความรู้ในการป้องกันและสร้างเสริมสุขภาพทางกายและใจที่ดี แก่พนักงานโดยยึดถือตามมาตรฐานและข้อกำหนดต่างๆ ทางด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานที่เป็นสากล นอกจากนี้ บริษัทยังได้จัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพบริหารจัดการโดยบริษัทจัดการกองทุนมืออาชีพซึ่งได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงในการดำรงชีวิตของพนักงานหลังเกษียณอายุการทำงาน
  • ด้านการพัฒนาบุคลากร : บริษัทสนับสนุนและลงทุนด้านการพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากร โดยมีการพัฒนาอย่างเป็นระบบทั่วทั้งองค์กรอย่างต่อเนื่อง บริษัทกำหนดให้บุคลากรและผู้บังคับบัญชาร่วมกันจัดทำแผนพัฒนาความรู้ ความสามารถที่สอดคล้องกับการดำเนินงานและกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจขององค์กรรวมทั้งลักษณะงานของตน และทบทวนปรับปรุงให้มีความทันสมัยอยู่ เสมอ การพัฒนาครอบคลุมความสามารถในการทำงานด้านต่างๆ ทั้งการบริหารจัดการ ความเป็นผู้นำ ความรู้ และเทคนิคเฉพาะของแต่ละสายงานอาชีพ และการพัฒนากระบวนการคิดเป็น ทำเป็นและมุมมองสู่ โลกาภิวัฒน์ นอกจากนี้ บริษัทจัดเส้นทางและความก้าวหน้าในการพัฒนาสายอาชีพอย่างต่อเนื่องที่ เอื้อต่อการวางแผนผู้สืบทอดตำแหน่ง และการพัฒนากลุ่มพนักงานผู้มีศักยภาพสูง เพื่อให้เกิดการสานต่อในการปฏิบัติ ตามพันธกิจและคำมั่ นสัญญาของบริษั ทที่มี ต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนของสังคม และธำรงรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมการบริหารจัดการตามธรรมาภิบาลที่ดี

6. คู่แข่งทางการค้า : บริษัทสนับสนุนและส่งเสริมนโยบายการแข่งขันทางการค้าอย่างเสรี เป็นธรรมไม่ผูกขาด และไม่ขัดต่อกฎหมายและจริยธรรม โดยดำเนินธุรกิจภายใต้กรอบกติกาของการแข่งขันที่ดีไม่ทำลายชื่อเสียงของคู่แข่งทางการค้า รวมถึงไม่แสวงหาข้อมูลที่เป็นความลับของคู่แข่งทางการค้าด้วยวิธีการที่ไม่สุจริต ตามคู่มือจรรยาบรรณของบริษัท

7. สื่อมวลชน : การให้ข้อมูลข่าวสารใดๆ เกี่ยวกับบริษัท หรือการให้สั มภาษณ์ต่อสื่อมวลชนต้องอยู่ บนพื้ นฐานข้อมูลที่เป็นจริง ถูกต้องและปฏิบัติด้วยความระมัดระวัง ตามคู่ มือจรรยาบรรณของบริษัท โดยผู้ที่ ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องหรือไม่ได้รับมอบหมาย ไม่สามารถให้ข้อมูลข่าวสารหรือให้สั มภาษณ์ต่อสื่ อมวลชนหรือต่อสาธารณชนใดๆ เกี่ยวกับหรือพาดพิงกลุ่มบริษัทไม่ว่าในด้านใด อันอาจส่งผลกระทบต่อชื่ อเสียงและการดำเนินธุรกิจของกลุ่มบริษัท

8. ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อม : บริษัทตะหนักว่าการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งในการดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จและยั่งยืน รวมถึงการดูแลสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เป็นไปอย่างปลอดภัยทั้งสำหรับพนักงาน ลูกค้า ตลอดจนบุคคลที่เกี่ยวข้องบริษัทจึงได้จัดทำนโยบายด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานขึ้น ตามแนวทางดังนี้

  • ความปลอดภัยอาชีวอนามัย และการักษาสภาพแวดล้อมในการทำงานเป็นหน้าที่ของพนักงานทุกคนและทุกระดับ ในการร่วมมือกันปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สิน
  • ดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ และข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจของบริษัท
  • กำหนดให้มีระเบียบปฏิบัติ และแผนดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานตลอดจนมีการทบทวนประเมินและติดตามผลอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ พร้อมทั้งกำหนดให้มีมาตรการป้องกันและควบคุมความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดความสูญเสียอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุการบาดเจ็บ หรือความเจ็บป่วยจากการปฏิบัติงานไม่ถูกวิธี และความผิดพลาดอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้น
  • ส่งเสริมและสนับสนุนการปฏิบัติงานของบุคลากรมิให้ได้รับอันตรายต่อชีวิตร่างกาย จิตใจและสุขภาพอนามัย
  • ประชาสัมพันธ์ สื่อสาร และเผยแพร่ข้อมูลด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน แก่บุคลากรของบริษัท ตลอดจนผู้มีส่วนได้เสียที่ เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของบริษัทอย่างเหมาะสม

9. การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม และการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ : บริษัทฯ ส่งเสริมให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันและบรรเทาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นอย่างมีระบบ

10. การเคารพด้านสิทธิมนุษยชน : คณะกรรมการบริษัท ผู้บริหาร พนักงานทุกระดับยึดถือปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนร่วมกัน ส่งเสริมการปฏิบัติต่อทุกคนด้วยความเคารพ เป็นธรรม ให้เกียรติ คำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ความเท่าเทียมกัน รวมถึงเคารพในสิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลโดยไม่เลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเชื้อชาติ สัญชาติ ถิ่นกำเนิด ศาสนาเพศ อายุ สีผิว ภาษา ความเชื่อ การศึกษา เผ่าพันธุ์ ความทุพพลภาพ การแสดงความคิดเห็นทางการเมือง ฐานะทางเศรษฐกิจ การเข้าร่วมกลุ่มหรือสถานะทางสังคมอื่นใดที่ไม่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานหรือเรื่องอื่นใดก็ตาม

11. การไม่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา : บริษัทฯ มีนโยบายและแนวปฏิบัติที่จะไม่ล่วงละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาหรือลิขสิทธิ์ โดยกำหนดให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทฯ ทุกคนปฏิบัติตามจรรยาบรรณในเรื่องทรัพย์สิน ทางปัญญาหรือลิขสิทธิ์

12. การต่อต้านการทุจริตและการคอร์รัปชั่น : คณะกรรมการบริษัทฯ ได้กำหนดและปรับปรุงนโยบายการต่อต้านคอร์รัปชั่นของบริษัทฯ ให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น พร้อมทั้งกำหนด คู่มือมาตรการต่อต้านคอร์รัปชั่นเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน โดยมุ่งเน้นการป้องกันและการต่อต้านการคอร์รัปชั่นทุกรูปแบบทั้งทางตรงและทางอ้อม และไม่เข้าไปมีส่วนร่วมในการให้สินบนและการคอร์รัปชั่นแก่เจ้าหน้าที่ หน่วยงานของภาครัฐและเอกชน เพื่อให้ได้มาหรือคงไว้ ซึ่งข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน พร้อมทั้งแต่งตั้งคณะทำงานต่อต้านคอร์รัปชั่น เพื่อประสานงานกับผู้บริหาร และ ทุกหน่วยงานในองค์กร เพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์ ข้อกำหนด และแนวปฏิบัติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้อง และเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน และจัดให้มีการเผยแพร่นโยบาย และคู่มือมาตรการต่อต้านคอร์รัปชั่นให้แก่บุคคลภายนอกอีกด้วย บริษัทฯ ได้รับการรับรองฐานะสมาชิกแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านทุจริต เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2559 จากคณะกรรมการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านทุจริต ทั้งนี้บริษัทได้มีการเปิดนโยบายฉบับนี้ไว้ในเว็บไซต์ของบริษัทที่ bwg.idea-boomer.com

13. การรับเรื่องร้องเรียนและเบาะแสการกระทำผิดและการทุจริต : บริษัทได้จัดทำนโยบายรับเรื่องร้องเรียนและเบาะแสการกระทำผิดและการทุจริต (Whistle-Blowing Policy) ขึ้นเพื่อกำหนดแนวปฏิบัติที่โปร่งใสและเที่ยงธรรมและกำหนดช่องทางในการรายงานและสนับสนุนให้พนักงานทุกคนให้ ข้อมูลรายงานเบาะแสการกระทำผิดหรือการทุจริตใดๆ ที่เกิดขึ้นในบริษัท ซึ่งเป็นการป้องปรามการกระทำผิดและการทุจริตที่อาจเกิดขึ้นในองค์กร และช่วยให้สามารถตรวจพบและลดความเสียหายจากการกระทำผิดหรือการทุจริต รวมถึงเพื่อให้การคุ้มครองพนักงานที่ได้ให้ข้อมูลความร่วมมือหรือความช่วยเหลือใดๆ แก่บริษัทอันเกี่ยวข้องกับการกระทำผิดและการทุจริต ไม่ให้ถูกคุกคาม ข่มขู่เปลี่ยนแปลงตำแหน่งงาน ลักษณะงาน หรือสถานที่ทำงาน พักงาน ไล่ออก หรือกระทำการอื่นใดที่มีลักษณะเปนการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมบุคคลที่สามารถแจ้งเรื่องร้องเรียนพนักงาน เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง หรือบุคคลภายนอกที่พบเห็นหรือทราบเบาะแส รวมถึงบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ หรือจากการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทฯ ที่ฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบของรัฐหรือหลักการกำกับดูแลกิจการ จรรยาบรรณธุรกิจ นโยบายและระเบียบข้อบังคับของบริษัทฯ รวมถึงการกระทำที่อาจส่อถึงการทุจริต ทั้งนี้ บริษัทฯ ส่งเสริมให้ผู้แจ้งเรื่องร้องเรียนเปิดเผยตัวตนให้ทราบ และให้ข้อมูลหลักฐานที่ชัดเจนเพียงพอ

ช่องทางในการแจ้งเรื่องร้องเรียนและเบาะแสการกระทำผิดและการทุจริต

บริษัทฯ ได้มอบหมายให้ประธานกรรมการสอบสวนเป็นผู้พิจารณารับเรื่องแจ้งเบาะแสข้อร้องเรียน การกระทำที่อาจทำให้เกิดความสงสัยได้ว่าเป็นการให้สินบนและการคอร์รัปชั่น ที่เกิดขึ้นกับบริษัทฯ ทั้งทางตรงหรือทางอ้อม ซึ่งผู้ร้องเรียนจะต้องระบุรายละเอียดของเรื่องที่จะแจ้งเบาะแส หรือข้อร้องเรียน หรือหลักฐาน หรือข้อมูลที่เพียงพอต่อการตรวจสอบ รวมถึงแจ้งชื่อ ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้ โดยผ่านช่องทางต่าง ๆ ดังนี้

บุคคลที่สามารถแจ้งเรื่องร้องเรียน

พนักงาน เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง หรือบุคคลภายนอกที่พบเห็นหรือทราบเบาะแส รวมถึงบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ หรือจากการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทฯ ที่ฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบของรัฐ หรือหลักการกำกับดูแลกิจการ จรรยาบรรณธุรกิจ นโยบายและระเบียบข้อบังคับของบริษัทฯ รวมถึงการกระทำที่อาจส่อถึงการทุจริตทั้งนี้ บริษัทฯ ส่งเสริมให้ผู้แจ้งเรื่องร้องเรียนเปิดเผยตัวตนให้ทราบ และให้ข้อมูลหลักฐานที่ชัดเจนเพียงพอ

ช่องทางในการแจ้งเรื่องร้องเรียนและเบาะแสการกระทำผิดและการทุจริต

บริษัทฯ ได้มอบหมายให้ประธานกรรมการสอบสวนเป็นผู้พิจารณารับเรื่องแจ้งเบาะแส ข้อร้องเรียน การกระทำที่อาจทำให้เกิดความสงสัยได้ว่าเป็นการให้สินบนและการคอร์รัปชั่น ที่เกิดขึ้นกับบริษัทฯ ทั้งทางตรงหรือทางอ้อม ซึ่งผู้ร้องเรียนจะต้องระบุรายละเอียดของเรื่องที่จะแจ้งเบาะแส หรือข้อร้องเรียน หรือหลักฐาน หรือข้อมูลที่เพียงพอต่อการตรวจสอบ รวมถึงแจ้งชื่อ ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้ โดยผ่านช่องทางต่าง ๆ ดังนี้

1. แจ้งผ่านช่องทางอีเมล์คณะกรรมการตรวจสอบ

E-mail:audit@bwg.co.th

2. แจ้งผ่านช่องทางสื่อออนไลน์ของบริษัท

bwg.idea-boomer.com

Facebook : BWG – Better World Green

Line ID : @bwgcenter

3. แจ้งผ่านทางโทรศัพท์

02-012 7888 ต่อ 211 (ฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคล)

4. แจ้งทางไปรษณีย์ จ่าหน้าซองถึง หรือยื่นส่งโดยตรง ได้ที่

  • ประธานกรรมการตรวจสอบ
  • ประธานกรรมการสอบสวน
  • ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ
  • เลขานุการบริษัทฯ
  • ผู้บริหารฝ่ายตรวจสอบภายในที่ บริษัท เบตเตอร์ เวิลด์ กรีน จำกัด (มหาชน) เลขที่ 488 ซอยลาดพร้าว 130 (มหาดไทย 2) แขวงคลองจั่น ขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240

ในกรณีที่ผู้แจ้งเบาะแส หรือผู้ร้องเรียน มีข้อร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการบริษัทคณะอนุกรรมการชุดย่อยทุกคณะ และผู้บริหารระดับสูง ขอให้ท่านส่งเรื่องร้องเรียนมายังประธานกรรมการตรวจสอบ โดยตรง

การดำเนินการของบริษัทเมื่อได้รับข้อร้องเรียน

1. เมื่อได้รับการแจ้งเบาะแส ผู้รับข้อร้องเรียนจะเป็นผู้ดำเนินการตรวจสอบ รวบรวมข้อเท็จจริงหรือมอบหมายให้บุคคลหรือหน่วยงานที่ไว้วางใจหรือคณะกรรมการสอบสวนเป็นผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริง

2. หากการสืบสวนข้อเท็จจริงแล้วพบว่า ข้อมูลหรือหลักฐานที่มี มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีผู้ที่ถูกกล่าวหาได้กระทำการให้สินบนและคอร์รัปชั่นจริง บริษัทฯ จะให้สิทธิผู้ถูกกล่าวหาได้รับทราบข้อกล่าวหาและให้สิทธิผู้ถูกกล่าวหาพิสูจน์ตนเอง โดยการหาข้อมูลหรือหลักฐานเพิ่มเติมที่แสดงให้เห็นว่าตนเองไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำตามที่ได้ถูกกล่าวหา

3. หากผู้ถูกกล่าวหา ได้กระทำการให้สินบนและการคอร์รัปชั่นจริง ต้องได้รับการพิจารณาโทษทางวินัยตามระเบียบที่บริษัทฯ ได้กำหนดไว้ รวมถึงหากการกระทำดังกล่าวนั้นผิดกฎหมาย จะต้องได้รับโทษทางกฎหมายด้วย ทั้งนี้ โทษทางวินัยตามระเบียบของบริษัทฯ คำตัดสินของประธานเจ้าหน้าที่บริหารถือเป็นที่สุด และรายงานแก่คณะกรรมการตรวจสอบรับทราบต่อไป

4. ผู้แจ้งเบาะแส หรือข้อร้องเรียนจะต้องกระทำการโดยสุจริต หากบริษัทฯ พบมีการแจ้งเบาะแส หรือข้อร้องเรียนโดยไม่สุจริต หรือมีเจตนาในการกลั่นแกล้งให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย เสื่อมเสียชื่อเสียง ฯลฯ โดยบุคคลนั้นเป็นพนักงานของบริษัทฯ ต้องได้รับโทษทางวินัยตามระเบียบที่กำหนดไว้ แต่กรณีบุคคลนั้น เป็นบุคคลภายนอก และบริษัทฯ ได้รับความเสียหาย บริษัทฯ จะพิจารณาดำเนินคดีกับบุคคลนั้น ๆ ด้วย

ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการร้องเรียนเป็นเรื่องที่สำคัญ เช่น เป็นเรื่องที่กระทบต่อชื่อเสียงภาพลักษณ์หรือฐานะทางการเงินของบริษัท ขัดแย้งนโยบายในการดำเนินธุรกิจของบริษัท หรือเกี่ยวข้องกับผู้บริหารระดับสูงและกรรมการบริษัท เป็นต้น คณะกรรมการตรวจสอบมีหน้าที่ในการรับเรื่อง หาข้อมูลและตรวจสอบข้อเท็จจริงตามที่ได้รับแจ้ง เพื่อรายงานต่อคณะกรรมการบริษัทฯ ให้ร่วมกันพิจารณาและกำหนดโทษตามที่เห็นสมควร

การลงโทษทางวินัยและการดำเนินการทางกฎหมาย

1. บริษัทฯ จะดำเนินการลงโทษทางวินัยแก่พนักงานผู้ฝ่าฝืนการปฏิบัติตามนโยบายนี้ รวมถึงผู้บังคับบัญชาโดยตรงที่เพิกเฉยต่อการกระทำผิดหรือรับทราบว่ามีการกระทำผิดแต่ไม่ดำเนินการจัดการ ให้ถูกต้อง ซึ่งมีบทลงโทษทางวินัยจนถึงขั้นให้ออกจากงาน การไม่ได้รับรู้ถึงนโยบายฉบับนี้และ / หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ไม่สามารถใช้เป็นข้ออ้างในการไม่ปฏิบัติตามได้

2. ตัวแทน ตัวกลางทางธุรกิจ ผู้จัดจำหน่ายสินค้า / ให้บริการ หรือผู้รับเหมาใดๆ ของบริษัทฯ ที่ฝ่าฝืนหลักเกณฑ์ตามนโยบายฉบับนี้ หรือให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องเมื่อเจ้าหน้าที่สอบสวนของบริษัทฯ ได้สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการกระทำที่อาจขัดต่อนโยบายฉบับนี้ อาจถูกบอกเลิกสัญญาได้

การแจ้งผลกับผู้ร้องเรียน

บริษัทจะแจ้งความคืบหน้าและผลการพิจารณาเรื่องร้องเรียนการกระทำผิดและการทุจริตให้กับผู้ร้องเรียนที่ได้เปิดเผยชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ อีเมล หรือช่องทางติดต่ออื่นๆ ไว้ อย่างไรก็ตามในบางครั้ง ด้วยเหตุผลความจำเป็นในเรื่องข้อมูลส่วนบุคคล และรักษาความลับ บริษัทอาจไม่สามารถให้ข้อมูลในรายละเอียดเกี่ยวกับการสอบสวนหรือการลงโทษทางวินัยการให้ความคุ้มครองผู้แจ้งเรื่องร้องเรียนหรือผู้แจ้งเบาะแส และบุคคลที่เกี่ยวข้องผู้แจ้งเรื่องร้องเรียนหรือผู้แจ้งเบาะแสจะได้รับการคุ้มครองที่เหมาะสมและเป็นธรรมจากบริษัทฯ เช่น ไม่มีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งงาน ลักษณะงาน สถานที่ทำงาน พักงาน ข่มขู่ รบกวนการปฏิบัติงาน เลิกจ้างหรือการกระทำอื่นใดที่ไม่เป็นธรรมแก่ผู้แจ้งเรื่องร้องเรียน หรือผู้แจ้งเบาะแสดังกล่าว สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียน บริษัทฯ จะเก็บรักษาเป็นความลับ ไม่เปิดเผยต่อผู้ไม่เกี่ยวข้อง เว้นแต่ที่จำเป็นต้องเปิดเผยตามข้อกำหนดของกฎหมาย บุคคลที่เกี่ยวข้องที่ได้รับทราบเรื่องหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องร้องเรียน จะต้องรักษาข้อมูลให้เป็นความลับ และไม่เปิดเผยต่อบุคคลอื่น เว้นแต่ที่จำเป็นต้องเปิดเผยตามข้อกำหนดของกฎหมาย หากมีการจงใจฝ่าฝืน นำข้อมูลออกไปเปิดเผย บริษัทฯ จะดำเนินการลงโทษตามระเบียบข้อบังคับของบริษัทฯ และ/หรือ ดำเนินการทางกฎหมาย แล้วแต่กรณี

การรักษาความลับ

1. ผู้ที่เกี่ยวข้องในการรับร้องเรียนและเบาะแสการกระทำผิดหรือการทุจริต ต้องเก็บรักษาข้อมูลที่ ได้รับมาไว้เนความลับไม่เปิดเผยแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด เว้นแต่เป็นการเปิดเผยตามความจำเป็นในการปฏิบัติ งานเท่านั้นหรือเป็นการปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด

2. ห้ามนำรายงานผลการสอบสวนไปเปิดเผยแก่บุคคลใด ทั้งนี้ เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงการสร้างความเสียหายต่อชื่อเสียงของบุคคลผู้ถูกกล่าวหาหากภายหลังพบว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ และเพื่อป้องกัน

ในปี 2562 บริษัทฯ ไม่ได้รับข้อร้องเรียนใดๆ เกี่ยวกับการกระทำผิด หรือการมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมแต่อย่างใด

หมวดที่ 4 การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส (Disclosure and Transparency)

บริษัทให้ความสำคัญต่อการเปิดเผยข้อมูลที่มีความถูกต้อง ครบถ้วน โปร่งใส และทั่วถึงทั้งในรูปของรายงานข้อมูลทางการเงิน และข้อมูลทั่วไป ตลอดจนข้อมูลสำคัญที่มีผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์ของบริษัท โดยได้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารผ่านช่องทางสื่อสารต่างๆ เช่น เว็บไซต์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) รายงานประจำปี (แบบ 56-2) และการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี เป็นต้น เพื่อให้ผู้ลงทุนและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบข้อมูลอย่างทั่วถึง นอกจากนี้ สารสนเทศของบริษัทที่ได้รายงาน ต่อ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ผู้ถือหุ้น และนักลงทุนแล้ว จะเผยแพร่ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษไว้ในเว็บไซต์ ของบริษัท bwg.idea-boomer.com ซึ่งนับเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการสื่อสารที่ทันต่อเหตุการณ์และผู้ใช้สามารถเข้าถึงได้โดยสะดวก

ในการเปิดเผยข้อมูลสำคัญของบริษัทนอกจากเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่กำหนดผ่านช่องทางของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และสำนักคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์แล้ว จะเผยแพร่ไว้ในเว็ปไซต์ของบริษัททั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ เช่นรายงานประจำปี ข้อมูลบริษัท ข่าวประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ผู้ถือหุ้นและบุคคลภายนอกสามารถรับข้อมูลข่าวสารได้ทันต่อเหตุการณ์เข้าถึงโดยสะดวก และได้รับประโยชน์มากที่สุด

1. สารสนเทศที่สำคัญของบริษัทประกอบด้วย ข้อมูลทางการเงิน และข้อมูลที่ไม่ใช่ทางการเงิน การเปิดเผยข้อมูลทางการเงินโดยเฉพาะในส่วนของงบการเงินได้ผ่านการสอบทาน/ตรวจสอบจากผู้ชอบบัญชี ว่าถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป และผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการตรวจสอบ/คณะกรรมการบริษัท ก่อนเปิดเผยแก่ผู้ถือหุ้นโดยคณะกรรมการบริษัท รายงานความรับผิดชอบต่?อรายงานทางการเงินควบคู่กับรายงานของคระกรรมการตรวจสอบ รายงานของผู้สอบบัญชีในรายงานประจำปีด้วย นอกจากนี้บริษัทได้เปิดเผยรายการระหว่างกันไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) รายงานประจำปี (แบบ56-2) เป็นต้น

2. บริษัทฯ นำส่งรายงานทางการเงินทั้งรายไตรมาส และ รายปี ในปี 2562 ได้ภายในเวลาที่สำนักงาน ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กำหนด ทั้งนี้ บริษัทฯ ให้ความสำคัญในการจัดทำงบการเงินให้ถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไป โดยเลือกใช้นโยบายบัญชีที่เหมาะสมและถือปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ บริษัทฯ เคร่งครัดในการนำส่งงบการเงินและรายงานทางการเงินให้ทันภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างยิ่ง งบการเงินของบริษัทฯ ได้รับการรับรองโดยไม่มีเงื่อนไขจากผู้สอบบัญชี ไม่เคยมีประวัติถูกสำนักงาน ก.ล.ต. สั่งให้แก้ไขงบการเงิน และ ไม่เคยนำส่งรายงานทางการเงินล่าช้า

3. บริษัทฯ จัดทำคำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการโดยอธิบายเชิงวิเคราะห์เกี่ยวกับฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ตลอดจนปัจจัยที่เป็นสาเหตุหรือมีผลต่อฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทฯ และ นำส่งต่อ สำนักงาน ก.ล.ต. และ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พร้อมกับการนำส่งงบการเงินทุกไตรมาส ตลอดจนเผยแพร่บนเว็บไซต์ของบริษัทฯ ทั้งนี้ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการเปิดเผยงบการเงินทุกไตรมาสเพื่อให้ผู้ลงทุนได้รับทราบข้อมูลและเข้าใจการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ในแต่ละไตรมาสได้ดียิ่งขึ้น

4. บริษัทฯ ได้แสดงรายงานความรับผิดชอบของคณะกรรมการต่อรายงานทางการเงินควบคู่กับรายงานของ ผู้สอบบัญชีไว้ในรายงานประจำปี

5. บริษัทเปิดเผยค่าสอบบัญชีและค่าบริการอื่นที่ผู้สอบบัญชีให้บริการไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) และรายงานประจำปี ในปี 2562 บริษัทฯ ได้ให้ผู้สอบบัญชีจากบริษัท กรินทร์ ออดิท จำกัด เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ ซึ่งมีความรู้ ความชำนาญในวิชาชีพ มีความเป็นอิสระ และได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน ก.ล.ต. โดยงบการเงินของบริษัทฯ ได้รับการรับรองโดยไม่มีเงื่อนไข และถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญ ตามหลักการบัญชีที่รับรองโดยทั่วไป และผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการตรวจสอบ/คณะกรรมการบริษัทก่อนเปิดเผยต่อผู้ถือหุ้น โดยมีค่าตอบแทนผู้สอบบัญชีดังนี้

  • 5.1. บริษัทฯ และบริษัทย่อยได้จ่ายค่าตอบแทนจากการสอบบัญชีให้กับบริษัท กรินทร์ ออดิท จำกัด รวมเป็นจำนวน 4,355,000 บาท ประกอบด้วย บริษัท เบตเตอร์ เวิลด์ กรีน จำกัด (มหาชน) จำนวน 1,250,000 บาท / บริษัท เบตเตอร์ เวสท์ แคร์ จำกัด จำนวน 435,000 บาท / บริษัท เบตเตอร์ เวิลด์ ทรานสปอร์ต จำกัด จำนวน 350,000 บาท / บริษัท เอิร์ธ เท็ค เอนไวรอนเมนท์ จำกัด จำนวน 1,970,000 บาท / บริษัท บี กรีน ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด จำนวน 160,000 บาท /บริษัท เบตเตอร์ มี จำกัด 190,000 บาท ) ทั้งนี้ บริษัทฯ ที่เป็นสำนักงานสอบบัญชีและผู้สอบบัญชีที่ได้รับการคัดเลือกมีความเป็น อิสระ ไม่มีความสัมพันธ์หรือส่วนได้ส่วนเสียใดๆ กับบริษัทฯ ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นใหญ่ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องของบุคคลดังกล่าว
  • 5.2. ค่าบริการอื่น ๆ --ไม่มี--

6. บริษัทมีการเปิดเผยบทบาทน้าที่ ของคณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการชุดย่อยจำนวนครั้งของการประชุม และจำนวนครั้งที่กรรมการแต่ละท่านเข้าประชุมในปี 2562 รวมถึงการฝึกอบรมและการพัฒนาความรู้ด้านวิชาชีพอย่างต่อเนื่องของคณะกรรมการ และเปิดเผยการจ่ายค่าตอบแทนกรรมการที่เป็นไปตามมติ ที่ประชุมผู้ถือหุ้น และผู้บริหารระดับสูงไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) และรายงานประจำปี (แบบ 56-2) ด้วย

7. บริษัทฯ เปิดเผยประวัติของกรรมการทุกท่านไว้ใน รายงานประจำปี แบบ 56-1 และ บนเว็บไซต์ของบริษัทฯ โดยระบุ ชื่อ-นามสกุล อายุ ตำแหน่ง ประวัติการศึกษา การฝึกอบรม ประสบการณ์การทำงาน จำนวนและสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทฯ การดำรงตำแหน่งกรรมการในบริษัทอื่นโดยแยกอย่างชัดเจนออกเป็นหัวข้อบริษัทจดทะเบียนและบริษัทอื่น วันเดือนปีที่ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการ ตลอดจนระบุความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างผู้บริหาร

8. ค่าตอบแทนกรรมการของบริษัทฯ สะท้อนถึงภาระหน้าที่และความรับผิดชอบของกรรมการแต่ละคน ทั้งนี้ บริษัทฯ จ่ายค่าตอบแทนให้แก่กรรมการ ในปี 2562 ตามอัตราซึ่งอนุมัติโดยที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี2562 โดยยังคงเป็นอัตราเดิมตามที่ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2561 ได้เคยมีมติอนุมัติไว้ ซึ่งอัตราค่าตอบแทนดังกล่าวไม่มีการเปลี่ยนแปลงมาตั้งแต่ปี 2551 แล้ว ในการนี้ บริษัทฯ ได้เปิดเผยจำนวนเงินและประเภทของค่าตอบแทนที่กรรมการแต่ละคนได้รับจากบริษัทฯ เป็นรายบุคคล ไว้ในรายงานประจำปี และ แบบ 56-1 ภายใต้หัวข้อ “โครงสร้างการจัดการ” และได้นำขึ้นเผยแพร่ ไว้บนเว็บไซต์ของบริษัทฯ

9. ในปี 2562 บริษัทฯ จ่ายค่าตอบแทนผู้บริหารระดับสูงสอดคล้องกับนโยบายของบริษัทฯ ที่ให้จ่ายค่าตอบแทนโดยสะท้อนภาระหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้บริหารระดับสูงแต่ละคน และเป็นอัตราที่เหมาะสมโดยศึกษาเทียบเคียงกับธุรกิจประเภทเดียวกัน และ ได้เปิดเผยข้อมูลการจ่ายค่าตอบแทนโดยละเอียดทั้งรูปแบบ ลักษณะ และ จำนวนเงินค่าตอบแทน ไว้ในรายงานประจำปี และ แบบ 56-1

10. บริษัทฯ กำหนดนโยบายให้กรรมการและผู้บริหารระดับสูงต้องส่งสำเนารายงานการถือหลักทรัพย์ของบริษัทฯ หากมีการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์ (แบบ 59) ให้แก่บริษัทฯ ภายในช่วงเวลาเดียวกันกับการนำส่งต่อสำนักงาน ก.ล.ต. เพื่อให้บริษัทฯ เก็บไว้เป็นหลักฐาน และ รายงานต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทเป็นประจำโดยกรรมการและผู้บริหารระดับสูงจะต้องแจ้งต่อเลขานุการบริษัทเป็นการล่วงหน้าอย่างน้อย 1 วันทำการ ก่อนวันที่จะเข้าทำรายการซื้อขายหลักทรัพย์ บริษัทฯ ได้เปิดเผยการเปลี่ยนแปลงการถือครองหลักทรัพย์ของบริษัทฯ ของกรรมการและผู้บริหารระดับสูง โดยแสดงจำนวนหุ้นที่ถือ ณ ต้นปี จำนวนการเปลี่ยนแปลงระหว่างปี และจำนวนหุ้น ณ สิ้นปี ไว้ใน รายงานประจำปี

11. ข้อมูลต่างๆ ของบริษัทฯ ที่ได้เปิดเผยแก่สาธารณชน ผู้ถือหุ้น และนักลงทุนตามเกณฑ์ที่กำหนดผ่านช่องทางของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย บริษัทยังมีการเปิดเผยข้อมูลสารสนเทศที่สำคัญของบริษัททั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษผ่านทางเว็บไซต์ของบริษัท รวมถึงมีการปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันอย่างสม่ำเสมอ ได้แก่

  • - วิสัยทัศน์และพันธกิจ
  • - ลักษณะการประกอบธุรกิจ
  • - รายชื่อคณะกรรมการและผู้บริหารของบริษัท
  • - งบการเงินและรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัท
  • - รายงานประจำปี (แบบ56-2) ที่สามารถดาวน์โหลดได้
  • - โครงสร้างการถือหุ้นและโครงสร้างองค์กร
  • - หนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้นและเอกสารอื่นใดที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งรายงานการประชุมผู้ถือหุ้น
  • - ข้อบังคับบริษัท และหนังสือรับรองบริษัท
  • - นโยบายการกำกับดูแลกิจการของบริษัท จรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ
  • - นโยบายต่อต้านการทุจริต และนโยบายด้านอื่นๆ ของบริษัท
  • - ข้อมูลติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์ เป็นต้น

บริษัทฯ ตระหนักดีว่าข้อมูลของบริษัทฯ ทั้งที่เกี่ยวกับงบการเงินและที่ไม่ใช่การเงินล้วนมีผลต่อกระบวนการตัดสินใจของผู้ลงทุนและผู้มีส่วนได้เสียของบริษัทฯ ซึ่งฝ่ายจัดการได้ให้ความสำคัญกับการเปิดเผยข้อมูลที่ครบถ้วนตรงต่อความเป็นจริง เชื่อถือได้สม่ำเสมอ ทันเวลา และเป็นไปตามเกณฑ์ที่สำนักงาน ก.ล.ต. และ ตลท. กำหนด บริษัทฯ จึงได้มอบหมายให้เลขานุการบริษัท และฝ่ายนักลงทุนสัมพันธ์ โทรศัพท์ 0-2012-7888 ต่อ 533 และ 344 เพื่อเป็นศูนย์กลางในการเปิดเผยข้อมูลสำคัญต่อผู้ลงทุน และกำกับดูแลกระบวนการรายงานทางการเงิน ตลอดจนข้อมูลสำคัญที่มีผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์ของบริษัทฯ เช่น งบการเงิน การนำเสนอผลการดำเนินงาน สารสนเทศต่างๆ ที่เปิดเผยต่อสาธารณชนผ่านระบบของตลาดหลักทรัพย์ (Set Portal) ต่อผู้ลงทุน เพื่อให้ได้รับทราบข้อมูลอย่างสม่ำเสมอและครบถ้วนตามความเป็นจริง บริษัทฯ ได้นำเสนอผลการดำเนินงานและการแจ้งสารสนเทศของบริษัทฯ ต่อนักลงทุน ผู้ถือหุ้นและผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งทางตรงและทางอ้อม สรุปได้ดังนี้

  • ทางตรง : บริษัทฯ มีการนำเสนอผลงานให้แก่นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ นักลงทุน และ พนักงานอย่างสม่ำเสมอในรูปแบบของการเข้าร่วมประชุม การเยี่ยมชมการดำเนินงานบริษัทฯ (Company Visit) การเข้าพบผู้บริหาร เพื่อสอบถามข้อมูลความคืบหน้าการดำเนินงานของบริษัทฯ
  • ทางอ้อม : บริษัทฯ มีการให้ข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับบริษัทฯ ผลการดำเนินงาน งบการเงิน รวมถึงรายงานสารสนเทศต่างๆ ที่บริษัทฯ แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยผู้สนใจสามารถอ่านข้อมูลได้ทางเว็บไซต์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (www.set.or.th) หรือ bwg.idea-boomer.com ในหน้านักลงทุนสัมพันธ์ ซึ่งจะมีข้อมูลทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

ทั้งนี้ผู้สนใจสามารถติดต่อขอข้อมูลต่างๆ เพิ่มเติมได้ที่ที่ บริษัท เบตเตอร์ เวิลด์ กรีน จำกัด (มหาชน) เลขที่ 488 ซอยลาดพร้าว 130 (มหาดไทย 2) แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240โทรศัพท์ 0-2012-7888 ต่อ 533 และ 344

ในปี 2562 บริษัทฯ ได้มีการจัดส่งรายงานทางการเงินทั้งรายไตรมาส และรายปีภายในระยะเวลา และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยประกาศกำหนด และไม่ได้รับแจ้งจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ให้มีการแก้ไขงบการเงินที่จัดทำขึ้น

หมวดที่ 5 ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ (Responsibilities of the Board of Directors)

โครงสร้างคณะกรรมการบริษัท

1. ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2562 คณะกรรมการบริษัท มีจำนวน 9 ท่าน ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ มีความรู้ ประสบการณ์หลากหลาย และ มีความสามารถเฉพาะด้านที่เป็นประโยชน์ต่อบริษัทฯ จำนวนกรรมการมีความเหมาะสมและเพียงพอกับขนาดและประเภทธุรกิจของบริษัทฯ โดยมีกรรมการที่มิใช่ผู้บริหารมีประสบการณ์ในธุรกิจหลักที่บริษัทฯ ดำเนินกิจการอยู่ โครงสร้างของคณะกรรมการบริษัท ประกอบด้วย

  • (1) กรรมการที่มีส่วนร่วมในการบริหาร (Executive Directors) 3 ท่าน
  • (2) กรรมการที่มิใช่ผู้บริหาร (Non-Executive Directors) 6 ท่าน โดยในจำนวนนี้ มีกรรมการอิสระ 3 ท่าน หรือคิดเป็นจำนวน 1 ใน 3 ของจำนวนกรรมการทั้งหมด บริษัทฯ ได้เปิดเผยโครงสร้างคณะกรรมการ อำนาจหน้าที่ หลักเกณฑ์ในการสรรหา ข้อมูลสำคัญของกรรมการแต่ละท่าน เช่น ชื่อ-นามสกุล ตำแหน่ง วันเดือนปีที่ได้รับแต่งตั้งเข้าดำรงตำแหน่งกรรมการ ตลอดจนประวัติของกรรมการแต่ละท่าน ไว้ในรายงานประจำปี และ แบบ 56-1 ตลอดจนเว็บไซต์ของบริษัทฯที่ bwg.idea-boomer.com

2. คณะกรรมการมีความหลากหลาย โดยมีทักษะสอดคล้องกับกลยุทธ์ทางธุรกิจของบริษัท ฯ ผ่านการจัดทำตารางความรู้ความชำนาญ (Board Skills Matrix) และมีความหลากหลายในด้านประวัติการศึกษา ประสบการณ์ โดยไม่ได้จำกัดความแตกต่างอื่นใด รายละเอียดประวัติกรรมการปรากฏในหัวข้อ “คณะกรรมการบริษัทและผู้บริหาร”

3. กรรมการอิสระจำนวน 1 ใน 3 ของกรรมการทั้งหมด ซึ่งปัจจุบันมีกรรมการอิสระจำนวน 3 คน

4. บริษัทฯ มีกรรมการอิสระที่เป็นผู้หญิง จำนวน 1 คน

5. ไม่มีกรรมการหรือผู้บริหารระดับสูงของบริษัทฯ ท่านใดเป็นหรือเคยเป็นพนักงานหรือหุ้นส่วน ของบริษัทสอบบัญชีภายนอกที่บริษัทฯ ใช้บริการอยู่ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา

6. ประธานกรรมการของบริษัทฯ มิใช่บุคคลเดียวกับกรรมการผู้จัดการ อำนาจหน้าที่ของประธานกรรมการนั้นเป็นไปตามกฎหมาย ส่วนอำนาจหน้าที่ของกรรมการผู้จัดการ นั้น คณะกรรมการบริษัทมีการกำหนดไว้อย่างชัดเจน และเปิดเผยอำนาจหน้าที่ของประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการไว้ในหัวข้อ “โครงสร้างการจัดการ” ในรายงานประจำปี และ แบบ 56-1 ซึ่งได้ เผยแพร่ไว้บนเว็บไซต์ของบริษัทฯ

7. บริษัทฯ กำหนดสายงานองค์กรให้ฝ่ายตรวจสอบภายใน (Internal Audit) รายงานโดยตรงต่อคณะกรรมการตรวจสอบ ซึ่งจะเป็นผู้พิจารณาให้คุณให้โทษต่อหัวหน้าฝ่ายตรวจสอบภายในทั้งนี้ บริษัทฯ ได้เปิดเผยชื่อและประวัติของหัวหน้าฝ่ายตรวจสอบภายในไว้ในรายงานประจำปี และ แบบ 56-1 ซึ่งได้เผยแพร่ไว้บนเว็บไซต์ของบริษัทฯ

8. บริษัทฯ มีเลขานุการบริษัทซึ่งทำหน้าที่ให้คำแนะนำด้านกฎหมายและกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่คณะกรรมการจะต้องทราบและปฏิบัติหน้าที่ในการดูแลกิจกรรมของคณะกรรมการรวมทั้งประสานงาน ให้มีการปฏิบัติตามมติคณะกรรมการ ทั้งนี้ เลขานุการบริษัทได้ผ่านการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของเลขานุการบริษัท บริษัทฯ ได้เปิดเผยหน้าที่ความรับผิดชอบของเลขานุการบริษัท ประวัติการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน ตลอดจนการผ่านการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของเลขานุการบริษัทไว้ในรายงานประจำปี และ แบบ 56-1 ซึ่งได้เผยแพร่ไว้บนเว็บไซต์ของบริษัทฯ

  • คณะกรรมการตรวจสอบ
  • คณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยง
  • คณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยง
  • คณะอนุกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีและความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (CG&CSR)
  • คณะกรรมการบริหาร

การแบ่งแยกอำนาจหน้าที่

บริษัทฯ ได้แบ่งแยกบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบระหว่างคณะกรรมการบริษัท กับผู้บริหารอย่างชัดเจน ดังนี้

1. การแบ่งแยกหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัท และฝ่ายบริหารคณะกรรมการบริษัทมีหน้าที่กำกับดูแลการดำเนินงานของบริษัทฯ ให้เป็นไปตามกฎหมายและข้อบังคับของบริษัท มติของที่ประชุมผู้ถือหุ้น และนโยบายการกำกับดูแลกิจการของบริษัทฯ ทั้งนี้ในการกำกับดูแล กรรมการจะต้องใช้ดุลยพินิจในการตัดสินในทางธุรกิจ และปฏิบัติในสิ่งที่ตนเองเชื่ออย่างมีเหตุผลว่าจะเป็นประโยชน์สูงสุดต่อบริษัทฯ และผู้ถือหุ้นฝ่ายบริหารมีหน้าที่รับผิดชอบในการนำกลยุทธ์ วัตถุประสงค์ของบริษัทฯ ไปปฏิบัติให้ประสบความสำเร็จ ตลอดจนบริหารจัดการงานประวันจำวันธุรกิจของบริษัทฯ

2. การแบ่งแยกตำแหน่งประธานกรรมการบริษัท และประธานเจ้าหน้าที่บริหารประธานกรรมการบริษัท และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ มีประสบการณ์ และคุณสมบัติที่เหมาะสม ไม่เป็นบุคคลเดียวกัน เพื่อให้มีการถ่วงดุลอำนาจ โดยแยกหน้าที่การกำกับดูแลและการบริหารงานออกจากกัน ประธานกรรมการบริษัท ต้องเป็นกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร เป็นผู้นำของคณะกรรมการ และทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท และประชุมผู้ถือหุ้นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เป็นหัวหน้าและผู้นำคณะผู้บริหารของบริษัทฯ มีหน้าที่รับผิดชอบต่อคณะกรรมการบริษัท ในการบริหารจัดการบริษัทตามทิศทาง กลยุทธ์ และงบประมาณที่ได้รับอนุมัติ จากคณะกรรมการบริษัทฯ ให้สำเร็จบรรลุเป้าหมาย โดยมีขอบเขตอำนาจหน้าที่ภายใต้กฎหมาย วัตถุประสงค์ และข้อบังคับของบริษัทฯ ตลอดจนมติคณะกรรมการบริษัท และมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น

วาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการบริษัท

1. กรรมการมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปี และสามารถได้รับเลือกเข้ามาเป็นกรรมการใหม่ได้ บริษัทฯ ไม่ได้มีข้อห้ามการแต่งตั้งกรรมการที่พ้นจากตำแหน่งตามวาระกลับเข้ามาเป็นกรรมการใหม่ รวมทั้งไม่มีข้อห้ามเกี่ยวกับเรื่องอายุของกรรมการ แต่คำนึงถึงความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่

2. วาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการเป็นไปตามข้อบังคับของบริษัท ซึ่งในการประชุมสามัญประจำปีทุกคราว กรรมการต้องพ้นจากตำแหน่งจำนวน 1 ใน 3 ของจำนวนกรรมการ โดยให้กรรมการที่อยู่ในตำแหน่งนานที่สุดนั้นเป็นผู้ออกจากตำแหน่งและกรรมการที่พ้นจากตำแหน่งอาจได้รับเลือกตั้งเข้ามาดำรงตำแหน่งต่อได้

3. กรณีที่ตำแหน่งกรรมการว่างลงเพราะเหตุอื่นนอกจากออกตามวาระดังกล่าว ให้คณะกรรมการมีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของกรรมการที่เหลืออยู่เลือกบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 68 แห่งพระราชบัญญัติมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 เข้ามาเป็นกรรมการแทนในการประชุมคณะกรรมการในคราวถัดไป บุคคลซึ่งเข้าเป็นกรรมการแทนดังกล่าวจะอยู่ในตำแหน่งกรรมการได้เพียงวาระที่ยังเหลืออยู่ของกรรมการที่ตนแทน

4. กรรมการอิสระมีวาระการดำรงตำแหน่งติดต่อกันได้ไม่เกิน 3 วาระ หรือไม่เกิน 9 ปี แล้วแต่ระยะเวลาใดจะนานกว่า แต่หากคณะกรรมการบริษัทฯ เห็นมีความจำเป็นต้องขอให้กรรมการอิสระที่ดำรงตำแหน่งติดต่อกันมาครบ 3 วาระ หรือ 9 ปี ดำรงตำแหน่งต่อไป ก็ให้อำนาจคณะกรรมการบริษัทฯ ขยายระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของกรรมการอิสระออกไปได้อีก

แผนการสืบทอดตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง

คณะกรรมการบริษัทฯ เล็งเห็นและตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องทรัพยากรบุคคลเป็นอย่างมาก จึงได้กำหนดให้คณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน มีการจัดทำแผนการสืบทอดตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้บริหารระดับสูงตั้งแต่ระดับผู้จัดการฝ่ายขึ้นไป และรายงานตรงต่อประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) ของบริษัทฯ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด รวมถึงพิจารณาทบทวนแผนดังกล่าวเป็นประจำทุกปี

นโยบายและวิธีปฏิบัติในการดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัทในบริษัทอื่นของกรรมการและผู้บริหาร

คณะกรรมการให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการ เพื่อให้กรรมการสามารถอุทิศเวลาในการกำกับดูแลกิจการของบริษัทฯ ได้อย่างเต็มที่ จึงกำหนดเป็นนโยบายในการจำกัดจำนวนบริษัทที่กรรมการและผู้บริหารจะดำรงตำแหน่งกรรมการในบริษัทจดทะเบียนอื่น โดยกรรมการและผู้บริหารจะสามารถดำรงตำแหน่งกรรมการในบริษัทจดทะเบียนอื่นได้ไม่เกิน 5 แห่ง ปัจจุบันไม่มีกรรมการที่ดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัทเกินหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้

การกํากับดูแลการดําเนินงานของบริษัทย่อย

การกํากับดูแลการดําเนินงานของบริษัทย่อยและบริษัทร่วมนั้น BWG ในฐานะผู้ถือหุ้นได้ส่งผู้แทน เพื่อเข้าไปมีส่วนร่วมในการทําหน้าที่ดูแลผลประโยชน์ ตลอดจนประสานงานในการร่วมมือทําธุรกิจระหว่างบริษัทย่อย โดยผู้แทน BWG จะต้องเป็นผู้ที่ได้รับความเห็นชอบจากฝ่ายบริหารของบริษัท หรือผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัทเข้าดํารงตําแหน่งกรรมการในบริษัทย่อย แล้วแต่กรณี ซึ่งกรรมการที่ ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้แทนนั้น ประกอบด้วยบุคคลจากคณะกรรมการบริษัท ฝ่ายบริหาร หรือบุคคลภายนอกที่มี ความรู้ ความเข้าใจในธุรกิจ สามารถให้แนวทางบริหารที่เป็นประโยชน์ต่อบริษัทได้

ภาวะผู้นำและวิสัยทัศน์

คณะกรรมการมีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ กลยุทธ์ รวมทั้งเป้าหมายและแผนธุรกิจทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยได้มีการทบทวนนโยบายต่างๆ วิสัยทัศน์ พันธกิจ กลยุทธ์ และแผนธุรกิจเป็นประจำทุกปี นอกจากนี้ คณะกรรมการกำหนดดัชนีวัดความสำเร็จการดำเนินการขององค์กรในแต่ละด้าน ทั้งด้านการสร้างความเติบโต และการเงิน รวมทั้งการจัดให้มีระบบงานที่สำคัญได้แก่ ระบบการควบคุมภายใน และระบบการบริหารความเสี่ยง และได้ติดตามผลการดำเนินงานของฝ่ายบริหาร โดยกำหนดให้กรรมการผู้จัดการนำเสนอรายงานเป็นประจำทุกไตรมาส เพื่อสอบทานให้การดำเนินงานของบริษัทฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

นโยบายการกำกับดูแลกิจการ

บริษัทฯ ได้จัดให้มีนโยบายการกำกับดูแลกิจการของบริษัทฯ เป็นลายลักษณ์ อักษร โดยคณะกรรมการจะได้จัดให้มีการทบทวนนโยบายและการปฏิบัติตามนโยบายดังกล่าวเป็นประจำ นอกจากนี้ภายหลังจากที่หุ้นสามัญของบริษัทฯ เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แล้ว บริษัทฯ จะถือปฏิบัติตามกฎและข้อบังคับต่างๆ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทยกำหนด โดยจะเปิดเผยรายงานการกำกับดูแลกิจการไว้ในรายงานประจำปี (แบบ 56-2) แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) และเผยแพร่ไว้ใน www.betterwordgreen.com

นโยบายต่อต้านการให้สินบนและการคอร์รัปชั่น

บริษัทฯ มีความมุ่งมั่นในการป้องกันและต่อต้านการคอร์รัปชั่นในทุกรูปแบบทั้งทางตรงหรือทางอ้อม และเพื่อให้การดำเนินการทางธุรกิจที่อาจมีความเสี่ยงด้านการคอร์รัปชั่น ได้รับการพิจารณาและปฏิบัติอย่างรอบคอบ บริษัทฯ จึงได้จัดทำนโยบายต่อต้านการให้สินบนและการคอร์รัปชั่นเป็นลายลักษณ์อักษรขึ้น โดยกำหนดให้บริษัทฯ และบริษัทย่อยปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการให้สินบนและการคอร์รัปชั่น เพื่อมุ่งมั่นที่จะผลักดันและรักษาวัฒนธรรมองค์กรโดยยึดมั่นว่า “คอร์รัปชั่นเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ในการทำธุรกรรมทั้งกับภาครัฐและภาคเอกชน” ซึ่งบริษัทฯ ได้เผยแพร่ไว้ใน www.betterworldgree.com

แนวทางการปฏิบัติงานตามนโยบายต่อต้านการให้สินบนและการคอร์รัปชั่น

1. บริษัทฯ มีนโยบายต่อต้านการให้สินบนและการคอร์รัปชั่นอย่างสิ้นเชิง และถือปฏิบัติตามกฎหมายทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านการให้สินบนและการคอร์รัปชั่นในประเทศไทย

2. บริษัทฯ จะไม่เข้าไปมีส่วนร่วมในการให้สินบนและการคอร์รัปชั่น ทั้งทางตรงและทางอ้อม และมุ่งมั่นที่จะนำระบบที่มีประสิทธิผลมาใช้ในการต่อต้านการให้สินบนและการคอร์รัปชั่น

3. กรรมการบริษัทฯ ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับ ต้องปฏิบัติตามนโยบายการต่อต้านการให้สินบนและการคอร์รัปชั่นและจรรยาบรรณ โดยไม่เข้าไปมีส่วนร่วมในการคอร์รัปชั่น การให้ / รับสินบน แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐและเอกชน เช่น บุคลากรของบริษัทต่างๆ ที่มีธุรกรรมร่วมกับบริษัทฯ ทั้งทางตรงและทางอ้อมเพื่อให้ได้มาหรือคงไว้ซึ่งธุรกิจหรือข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน

4. พนักงานไม่พึงละเลยหรือเพิกเฉย เมื่อพบเห็นการกระทำที่เข้าข่ายคอร์รัปชั่นที่เกี่ยวข้อง ต้องแจ้งต่อผู้บังคับบัญชา หรือบุคคลที่รับผิดชอบทราบ และให้ความร่วมมือในการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่างๆ

5. การดำเนินการใดๆ ตามนโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่นให้ใช้แนวปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในจรรยาบรรณธุรกิจของบริษัทฯ และระเบียบ รวมทั้งคู่มือปฏิบัติงานของบริษัทฯ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนแนวทางปฏิบัติอื่นใดที่บริษัทฯ จะกำหนดขึ้นต่อไป

6. การคอร์รัปชั่น เป็นการกระทำผิดจรรยาบรรณธุรกิจของบริษัทฯ ซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาโทษทางวินัยตามระเบียบที่บริษัทฯ กำหนดไว้ นอกจากนี้ อาจจะได้รับโทษตามกฎหมาย หากการกระทำนั้นผิดกฎหมาย

7. บริษัทฯ จะให้ความเป็นธรรม และคุ้มครองพนักงานที่แจ้ง หรือให้ความร่วมมือในการรายงานเรื่องคอร์รัปชั่นที่เกี่ยวข้องกับบริษัทฯ

8. บริษัทฯ ตระหนักถึงความสำคัญในการสื่อสาร และประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ กรรมการบริษัท ผู้บริหาร พนักงาน และบุคคลที่เกี่ยวข้องกับบริษัทฯ ในเรื่องที่ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามนโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่นนี้

9. บริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะสร้างและรักษาวัฒนธรรมองค์กรที่ยึดมั่นว่าคอร์รัปชั่นเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ทั้งการทำธุรกรรมกับภาครัฐและภาคเอกชนข้อกำหนดในการดำเนินการ

จรรยาบรรณทางธุรกิจ

คณะกรรมการได้จัดให้มีจรรยาบรรณเพื่อเป็นแนวทางและข้อพึงปฏิบัติที่ดีเพื่อให้กรรมการ ผู้บริหาร ตลอดจนพนักงานยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจของบริษัทฯ ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และเที่ยงธรรมทั้งการปฏิบัติต่อบริษัทฯ ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม สาธารณชนและสังคม รวมทั้งการกำหนดระบบติดตามการปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวเป็นประจำ ทั้งนี้บริษัทฯ ได้จัดอบรมชี้แจงพนักงานเพื่อให้ได้รับทราบเรื่องการปฏิบัติตามจรรยาบรรณทางธุรกิจอย่างต่อเนื่อง กรรมการ ผู้บริหารและพนักงานของบริษัทฯ มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามจรรยาบรรณอย่างเคร่งครัด ผู้บังคับบัญชาทุกระดับชั้นมีหน้าที่สอดส่องและส่งเสริมให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติตามจรรยาบรรณที่กำหนด และประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี เพื่อให้เป็นการส่งเสริมให้พนักงานได้ปฏิบัติตาม บริษัทฯ ได้เผยแพร่จรรยาบรรณไว้ใน bwg.idea-boomer.com

ระบบการควบคุมและตรวจสอบภายใน

คณะกรรมการบริษัทฯ ให้ความสำคัญต่อระบบการควบคุมภายในเพียงพอและหมาะสมในทุกระดับของการปฏิบัติงาน โดยได้กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบและอำนาจในการดำเนินการของผู้บริหารและพนักงานที่เป็นลายลักษณ์อักษรชัดเจน มีการแบ่งแยกอำนาจอย่างเหมาะสมเพื่อให้เกิดการถ่วงดุลและตรวจสอบระหว่างกัน มีการควบคุมดูแลการใช้ทรัพย์สินของบริษัทฯ ให้เป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างแท้จริง รวมทั้งจัดให้มีระบบรายงานทางการเงินที่ถูกต้องและทันเวลา โดยบริษัทฯ ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบเพื่อทำหน้าที่ในการสอบทานระบบการควบคุมภายในและการตรวจสอบภายในที่เหมาะสมบริษัทกำหนดให้มีส่วนตรวจสอบภายในทำหน้าที่ตรวจสอบการปฏิบัติงานหลัก และกิจกรรม ทางการเงินที่สำคัญของบริษัทให้ดำเนินไปในแนวทางที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามกฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับบริษัท ควบคุมระบบภายในและตรวจสอบรายการที่สำคัญอย่างสม่ำเสมอ และจะรายงานผลการตรวจสอบโดยตรงต่อคณะกรรมการตรวจสอบ ทำให้ส่วนตรวจสอบภายในมีความเป็นอิสระ สามารถตรวจสอบและถ่วงดุลได้อย่างเต็มที่ ทั้งนี้บริษัทได้มอบหมายให้ นางสาวศิริพร เสือสกุล เป็นผู้รับผิดชอบงาน ด้านระบบการควบคุมและตรวจสอบภายใน โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับหัวหน้างานตรวจสอบภายในดังนี้

นางสาวศิริพร เสือสกุล

การแต่งตั้งและพิจารณาค่าตอบแทนของผู้สอบบัญชี

คณะกรรมการตรวจสอบเป็นผู้พิจารณาคัดเลือก เสนอแต่งตั้ง และถอดถอนบุคคลซึ่งมีความเป็นอิสระเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ และเสนอค่าตอบแทนผู้สอบบัญชี โดยคณะกรรมการจะนำเสนอที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่ออนุมัติ คณะกรรมการและคณะกรรมการตรวจสอบมีความเห็นว่าบริษัท กรินทร์ออดิท จำกัด มีความเชี่ยวชาญในวิชาชีพ มีความเป็นอิสระและเป็นกลาง มีประสบการณ์ในงานสอบบัญชี มีความต่อเนื่องในการตรวจสอบบัญชีและทราบข้อมูลของบริษัทฯ และบริษัทในเครือ เป็นอย่างดี ในปี 2561 ที่ป่ระชุมสามัญผู้ถือได้อนุมัติค่าตอบแทนผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ และบริษัทย่อย รวมเป็นจำนวน 3,925,000 บาท ประกอบด้วย

ตำแหน่ง : ผู้จัดการฝ่ายตรวจสอบภายใน

อายุ : 42 ปี

คุณวุฒิการศึกษา / การอบรม

  • ปริญญาโท บริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ปริญญาตรี บัญชี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
  • ผู้สอบบัญชี และผู้สอบบัญชีภาษีอากร
  • ผ่านการอบรมหลักสูตร Anti-Corruption : The Practical Guide (ACPG23/2015) จากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD)
  • ผ่านการอบรมหลักสูตรด้านการตรวจสอบภายใน (IACP) จากสภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์
  • ผ่านการอบรมหลักสูตร ISO 9001 : 2015, ISO 14001 : 2015 and OHSAS 18001 : 2007 Internal Audit จากบริษัท เอสจีเอส (ประเทศไทย) จำกัด
  • ผ่านการอบรมหลักสูตร Business Risk Management for ISO 9001 : 2015 and ISO 14001:2015 with ISO31000 : 2009 Guide line
  • ผ่านการอบรมหลักสูตรเชิงปฏิบัติการ Coso 2013 กรอบแนวทางระบบการควบคุมภายในจากสภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • ผ่านการอบรมหลักสูตร “Update COSO Enterprise Risk Management : Integrating with Strategy and Performance” จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ประสบการณ์การทำงาน

  • 2561 - ปัจจุบัน เลขานุการบริษัท เบตเตอร์ เวิลด์ กรีน จำกัด (มหาชน)
  • 2551 – ปัจจุบัน ผู้จัดการฝ่ายตรวจสอบภายใน บริษัท เบตเตอร์ เวิลด์ กรีน จำกัด (มหาชน)
  • 2550 - 2551 ผู้จัดการฝ่ายตรวจสอบภายใน บริษัท ฑีฆา ก่อสร้าง จำกัด

การแต่งตั้งและพิจารณาค่าตอบแทนของผู้สอบบัญชี

คณะกรรมการตรวจสอบเป็นผู้พิจารณาคัดเลือก เสนอแต่งตั้ง และถอดถอนบุคคลซึ่งมีความเป็นอิสระ เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ และเสนอค่าตอบแทนผู้สอบบัญชี โดยคณะกรรมการจะนำเสนอที่ประชุม ผู้ถือหุ้นเพื่ออนุมัติ คณะกรรมการและคณะกรรมการตรวจสอบมีความเห็นว่าบริษัท กรินทร์ออดิท จำกัด มีความเชี่ยวชาญในวิชาชีพ มีความเป็นอิสระและเป็นกลางมีประสบการณ์ในงานสอบบัญชี มีความต่อเนื่องในการตรวจสอบบัญชีและทราบข้อมูลของบริษัทฯ และบริษัทในเครือ เป็นอย่างดีในปี 2562 ที่ประชุมสามัญผู้ถือได้อนุมัติค่าตอบแทนผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ และบริษัทย่อย รวมเป็นจำนวน 4,355,000 บาท ประกอบด้วย

  • ค่าสอบบัญชีบริษัท เบตเตอร์ เวิลด์ กรีน จำกัด (มหาชน) จำนวน 1,250,000 บาท
  • ค่าสอบบัญชีบริษัทย่อย
  • บริษัท เบตเตอร์ เวสท์ แคร์ จำกัด จำนวน 435,000 บาท
  • บริษัท เบตเตอร์ เวิลด์ ทรานสปอร์ต จำกัด จำนวน 350,000 บาท
  • บริษัท เอิร์ธ เท็ค เอนไวรอนเมนท์ จำกัดและบริษัทย่อย จำนวน 1,970,000 บาท
  • บริษัท บี กรีน ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด จำนวน 160,000 บาท
  • บริษัท เบตเตอร์ มี จำกัด จำนวน 190,000 บาท
  • บริการอื่นๆ --ไม่มี--

ทั้งนี้ บริษัทฯ ที่เป็นสำนักงานสอบบัญชีและผู้สอบบัญชีที่ได้รับการคัดเลือกมีความเป็นอิสระ ไม่มี ความสัมพันธ์หรือส่วนได้ส่วนเสียใดๆ กับบริษัทฯ ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นใหญ่ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องของบุคคลดังกล่าว

การบริหารความเสี่ยง

คณะกรรมการบริษัทฯ ได้กำหนดเป้าหมายการดำเนินธุรกิจที่ชัดเจนและสามารถวัดผลการดำเนินงานได้ โดยฝ่ายบริหารจะมีการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานจริงกับเป้าหมายที่กำหนดไว้เป็นประจำโดยมีการประเมินปัจจัยความเสี่ยงที่มาจากภายในและภายนอก วิเคราะห์ปัจจัยที่เป็นสาเหตุ และกำหนดมาตรการในการติดตามเหตุการณ์ที่เป็นสาเหตุของปัจจัยความเสี่ยง มาตรการในการลดความเสี่ยง รวมทั้งมอบหมาย ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามความเสี่ยงนั้นอย่างสม่ำเสมอและรายงานความคืบหน้าต่อผู้บังคับบัญชา

ความขัดแย้งทางผลประโยชน์

คณะกรรมการบริษัทฯ มีนโยบายเกี่ยวกับการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์บนหลักการที่ว่าการตัดสินใจใดๆ ในการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจจะต้องทำเพื่อผลประโยชน์สูงสุดของบริษัทเท่านั้น และควรหลีกเลี่ยงการกระทำที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ โดยกำหนดให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้เสียกับรายการที่พิจารณา ต้องแจ้งให้บริษัท ทราบถึงความสัมพันธ์หรือการมีส่วนได้เสียของตนในรายการดังกล่าว และต้องไม่เข้าร่วมการพิจารณาตัดสินใจ รวมถึงไม่มีอำนาจอนุมัติในธุรกรรมนั้นๆหากมีรายการที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์เกิดขึ้นที่มิใช่การดำเนินการตามธุรกิจปกติหรือเป็นไปตามเงื่อนไขการค้าทั่วไป จะต้องนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ พิจารณาอนุมัติ โดยให้คณะกรรมการตรวจสอบพิจารณาความเหมาะสมอย่างรอบคอบเพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท และหรือที่ประชุมผู้ถือหุ้น (แล้วแต่กรณี) ทั้งนี้บริษัทฯ จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รวมทั้งจะได้มีการเปิดเผยไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน รายงานประจำปี(แบบ 56-2) และแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) ด้วย

การควบคุมการทุจริต

คณะกรรมการเห็นว่า การทุจริตเป็นความเสี่ยงที่สำคัญขององค์กร จึงได้กำหนดมาตรการในการควบคุมการทุจริต ดังนี้

1. มาตรการป้องกัน ได้แก่การจัดผังองค์กรให้เหมาะสมกับการควบคุมและการบริหารธุรกิจ การจัดให้มีจรรยาบรรณที่เป็นลายลักษณ์อักษร และส่งเสริมการปฏิบัติตามจรรยาบรรณ การจัดให้มีระบบการควบคุมภายในที่ดี และการประเมินผลการควบคุมภายในของแต่ละหน่วยงาน

2. การดำเนินการตรวจสอบ ได้แก่การมอบหมายให้ผู้บังคับบัญชาในแต่ละระดับมีหน้าที่ในการป้องกันและตรวจสอบการทุจริตและข้อผิดพลาดในการปฏิบัติงาน รวมทั้งมีหน่วยงานตรวจสอบภายในที่เป็นอิสระจากผู้บริหารระดับสูงช่วยตรวจสอบการปฏิบัติตามกฏระเบียบและการตรวจสอบสัญญาณเตือนภัยความเสี่ยงต่างๆ

3. การให้ความเป็นธรรม โดยการสอบสวนทุจริต เพื่อความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกล่าวหา และกำหนดความคุ้มครองอย่างเหมาะสมกับผู้แจ้งเบาะแส

รายงานของคณะกรรมการ

คณะกรรมการบริษัทฯ เป็นผู้รับผิดชอบต่อการดำเนินธุรกิจที่สำคัญและการกำกับดูแลกิจการ งบการเงินรวมของบริษัทฯ และบริษัทย่อย และสารสนเทศทางการเงินที่ปรากฏต่อสาธารณชนในแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี และรายงานประจำปี โดยการจัดทำงบการเงินดังกล่าวจะเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไปในประเทศไทยและตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ โดยเลือกนโยบายบัญชีที่เหมาะสมและถือปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ และใช้ดุลยพินิจอย่างระมัดระวัง และประมาณการที่ดีที่สุดในการจัดทำ รวมทั้งมีการเปิดเผยข้อมูลสำคัญอย่างเพียงพอ ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน คณะกรรมการบริษัทฯ ได้จัดให้มีการดำรงรักษาไว้ซึ่งระบบควบคุมภายในที่มีประสิทธิผลเพื่อให้มั่นใจได้อย่างมีเหตุผลว่าการบันทึกข้อมูลทางบัญชีมีความถูกต้อง ครบถ้วน และเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการทุจริตหรือการดำเนินการที่ผิดปกติอย่างมีสาระสำคัญ ในการนี้ คณะกรรมกรรมการบริษัทฯ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ ซึ่งประกอบด้วยกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหารและเป็นอิสระอย่างเพียงพอ เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบเกี่ยวกับคุณภาพของของรายงานทางการเงินและระบบควบคุมภายใน รวมทั้งได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยง ซึ่งประกอบด้วยกรรมการอิสระ และผู้บริหารระดับสูง เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบพิจารณาความเสี่ยงในระบบงานต่างๆ ของบริษัทฯ

การป้องกันการนำข้อมูลภายในไปใช้ประโยชน์ของผู้บริหาร

บริษัทให้ความสำคัญเรื่องการใช้ข้อมูลภายในของบริษัทเพื่อประโยชน์ส่วนตัว โดยได้กำหนดไว้ในนโยบายการกำกับดูแลกิจการและคู่มือจริยธรรมธุรกิจและข้อพึงปฏิบัติในการทำงานของบริษัท ไม่ให้ใช้ข้อมูลภายในที่ตนล่วงรู้และอาจหาผลประโยชน์จากข้อมูลนั้นก่อนที่ข้อมูลจะเปิดเผยแก่สาธารณชนเป็นการทั่วไป โดยได้กำหนดเป็นนโยบายการป้องกันการใช้ข้อมูลภายในและแนวปฏิบัติสำหรับกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานเกี่ยวกับการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งหลักทรัพย์ของบริษัทเพื่อใช้เป็นมาตรการป้องกันการใช้ข้อมูลภายในโดยมิชอบ (Insider Trading) ของบุคคลที่เกี่ยวข้อง ซึ่งหมายถึง กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานในหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลของบริษัท รวมถึงคู่สมรสและบุตรหรือบุตรบุญธรรมที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลดังกล่าว ดังนี้

1. เมื่อจะมีการทำรายการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งหลักทรัพย์ของบริษัท กรรมการและผู้บริหารของบริษัทต้องแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 1 วันทำการก่อนวันที่จะทำรายการ โดยต้องจัดทำแบบฟอร์ม “แบบแจ้งการได้มา/จำหน่ายไปซึ่งหลักทรัพย์ล่วงหน้า (Pre-59 Form) และส่งให้หน่วยงานเลขานุการบริษัทเก็บไว้เป็นหลักฐานก่อนทำรายการดังกล่าว และจะมีการสรุปรายงานการทำแบบ Pre-59 เพื่อรายงานต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริษัททุกปี จากนั้นเมื่อมีการทำรายการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งหลักทรัพย์ของบริษัทแล้วจะต้องจัดทำรายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์ของบริษัท (แบบ 59) ทางอิเล็กทรอนิกส์ และแจ้งต่อสำนักงาน ก.ล.ต. ภายใน 3 วันทำการนับแต่วันทำรายการเพื่อให้ ก.ล.ต. เปิดเผยการเปลี่ยนแปลงการถือครองหลักทรัพย์ดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์ของ ก.ล.ต. ทำให้ผู้ลงทุนสามารถติดตามความเคลื่อนไหว การถือหลักทรัพย์ของบุคคลดังกล่าวซึ่งอยู่ในตำแหน่งหรือฐานะที่อาจล่วงรู้ข้อมูลภายในของบริษัทและอาจหาผลประโยชน์จากข้อมูลนั้นก่อนที่ข้อมูลจะเปิดเผยเป็นการทั่วไป

2. กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานที่เข้าถึงหรือครอบครองข้อมูลภายในจะถูกแจ้งเตือนให้งดทำรายการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งหลักทรัพย์ของบริษัทในช่วงก่อนเผยแพร่งบการเงินตามเวลาที่กำหนดโดยบริษัทได้จัดทำบัญชีรายชื่อบุคคลที่สามารถเข้าถึงหรือครอบครองข้อมูลภายใน (Insider List) ซึ่งได้แก่ กรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน หรือบุคคลที่มีโอกาสล่วงรู้ข้อมูลภายในและอาจหาผลประโยชน์จากข้อมูลนั้นก่อนที่ข้อมูลจะเปิดเผยต่อสาธารณชน ซึ่งผู้ที่เข้าหลักเกณฑ์ดังกล่าวจะถูกห้ามทำรายการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งหลักทรัพย์ของบริษัทในช่วงที่มีข้อมูลภายในหรือข้อมูลอื่นที่อาจมีผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์รวมถึงในช่วงระยะเวลา 30 วัน ก่อนการเปิดเผยข้อมูลงบการเงินของบริษัทต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ และ 1 วันหลังจากการเปิดเผยข้อมูล

3.ห้ามมิให้มีการใช้ข้อมูลภายในที่ยังมิได้เปิดเผยต่อสาธารณชนหรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไปแสวงหาผลประโยชน์ให้กับตนเองหรือผู้เกี่ยวข้องในทางมิชอบซึ่งเป็นการเอาเปรียบผู้ถือหุ้นรายอื่น

4. ให้ความรู้แก่กรรมการรวมทั้งผู้บริหารฝ่ายต่างๆ เกี่ยวกับหน้าที่ที่ต้องรายงานการถือครองหลักทรัพย์ของตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต่อ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

5. บริษัทฯ กำหนดบทลงโทษทางวินัยหากมีการฝ่าฝืนนำข้อมูลภายในไปใช้หาประโยชน์ส่วนตนซึ่งเริ่มตั้งแต่ การตักเตือนเป็นหนังสือ ตัดค่าจ้าง พักงานชั่วคราวโดยไม่ได้รับค่าจ้าง หรือให้ออกจากงานซึ่งการลงโทษจะพิจารณาจากเจตนาของการกระทำ และความร้ายแรงของความผิดนั้นๆ

ทั้งนี้ในปี 2562 ที่ผ่านมา ไม่ปรากฏการกระทำความผิดของกรรมการ กรรมการบริหาร ผู้บริหารระดับสูง และพนักงานที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการใช้ข้อมูลภายในแต่อย่างใด

การปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีในเรื่องอื่นๆ

ห้ามมิให้มีการใช้ข้อมูลภายในที่ยังมิได้เปิดเผยต่อสาธารณชนหรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไปแสวงหาผลประโยชน์ให้กับตนเองหรือผู้เกี่ยวข้องในทางมิชอบซึ่งเป็นการเอาเปรียบผู้ถือหุ้นรายอื่น

การปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีในเรื่องอื่นๆจากการที่สำนักงาน ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์ได้รณรงค์และส่งเสริมให้บริษัทจดทะเบียนตระหนักถึงประโยชน์ของการกำกับดูแลกิจการที่ดี บริษัทฯ ได้เล็งเห็นและให้ความสำคัญกับการพัฒนาแนวทางการดำเนินงานของบริษัทฯ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีมาโดยตลอด ทั้งนี้ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ได้รับทราบหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียนปี 2560 (Corporate Governance Code) ของสำนักงาน ก.ล.ต. แล้ว และได้นำหลักการดังกล่าว ตลอดจน หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียน ปี 2555 ของตลาดหลักทรัพย์ มาปรับใช้ตามความเหมาะสมกับธุรกิจ ของบริษัทฯ เพื่อให้กิจการมีผลประกอบการที่ดีในระยะยาว มีความน่าเชื่อถือสำหรับผู้ถือหุ้น และผู้มีส่วนได้เสียต่าง ๆ ตลอดจนสร้างคุณค่าให้แก่กิจการอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ ในปี 2562 บริษัทฯ ได้ปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียนดังกล่าว ยกเว้นบางกรณีที่บริษัทฯ ยังไม่สามารถนำมาปฏิบัติได้ ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้